วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

หยิบดี | จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การเตรียมคำขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา"





หยิบดี | กลุ่มส่งเสริมงานวิจัยและการนำไปใช้ประโยชน์ สวพ.มทร.ล้านนา เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การเตรียมคำขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา" ภายใต้โครงการปฎิรูประบบและกลไกการนำผลงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างทรัพย์สินทางปัญญาและสร้างรายได้เชิงพานิชย์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
#กิจกรรมที่5 ฝึกปฎิบัติการจัดเตรียมคำขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
● ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จ.เชียงใหม่ วันที่ 14-15 พฤษภาคม 2567
"หยิบดี" คอลัมที่ผมตั้งใจนำเรื่องราวดีๆ ที่ควรถูกนำมาเล่า มาสื่อสารให้เป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคม ในวงกว้างยิ่งขึ้น ติดตามดูนะครับว่าผมจะ หยิบดีเรื่องราวไหนมาเล่าต่อไปนะครับ


 

หยิบดี | ลงในหนังสือพิมพ์เชียงใหม่นิวส์ออนไลน์


หยิบดี | ลงในหนังสือพิมพ์เชียงใหม่นิวส์ออนไลน์ สถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับ สำนักงานบริหารทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัด อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การจัดเตรียมคำขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา” ภายใต้โครงการปฏิรูประบบและกลไกการนำผลงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างทรัพย์สินทางปัญญาและสร้างรายได้เชิงพาณิชย์ ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ระหว่างวันที่ 14-15 พฤษภาคม 2567 ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จ.เชียงใหม่


สามารถติดตามอ่านรายละเอียดได้ทาง :
https://www.chiangmainews.co.th/social/3319728/

● "หยิบดี" คอลัมที่ผมตั้งใจนำเรื่องราวดีๆ ที่ควรถูกนำมาเล่า มาสื่อสารให้เป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคม ในวงกว้างยิ่งขึ้น ติดตามดูนะครับว่าผมจะ หยิบดีเรื่องราวไหนมาเล่าต่อไปนะครับ

#หยิบดี #สุขโปรเจค #RMUTL #CISAT #RDI_RMUTL #ห้องเรียนแห่งความสุข #บัณฑิตนักปฎิบัติการ #สถาบันวิจัยและพัฒนา #กลุ่มส่งเสริมงานวิจัยและการนำไปใช้ประโยชน์ #บูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอน 
ดูน้อยลง

หยิบดี | ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประเมินกิจกรรม Approprite Technology Matching





หยิบดี | #ช่วงบ่าย ได้ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประเมินกิจกรรม Approprite Technology Matching โดยได้นำเครื่องมือที่ทาง ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ และทีมงานได้สร้างใบงานขึ้นมาโดยนำหลักแนวคิดมาจากการเขียน Impact Pathway ที่ทางรศ.ดร. พีรเดช ทองอำไพ ได้ให้แนวทางไว้ ซึ่งทำให้การสื่อสารระหว่างนักวิจัยที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยี และวิสาหกิจชุมชนหรือสถานประกอบการได้เห็นการเชื่อมโยงถึงการ "รับ ปรับ ใช้" เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับงานในชุมชนตนเองได้เป็นอย่างดี ทำให้เห็น TRL และ SRL จากกระบวนการนี้ได้ชัดขึ้น
● โดยการทำหน้าที่ของแต่ละท่านในกิจกรรม Approprite Technology Matching จะประกอบไปด้วย
#บทบาท(หมอ) จะคอยทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประเมินถึงความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความพร้อมของการ "รับ ปรับ ใช้" เทคโนโลยีร่วมกับชุมชน
#บทบาท(พยาบาล) จะคอยทำหน้าที่เป็นเลขาสนับสนุนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประเมินถึงความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความพร้อมของการ "รับ ปรับ ใช้" เทคโนโลยีร่วมกับชุมชน
● เป็นกระบวนการที่ดีงามมาก ที่ถูกผ่านการคิดและการใช้งานจริงแล้วเกิดการเข้าใจมากขึ้นระหว่างเจ้าของเทคโนโลยี (ผู้วิจัย) และชุมชน (ผู้รับเทคโนโลยี)
● จบจากกิจกรรม เกษตรกรได้เดินมาหาผมขอแลกไลน์เพื่อติดต่อกัน และกล่าวชื่นชมผมว่า "ขอบพระคุณอาจารย์มากเลยครับ อาจารย์ทำหน้าที่ Matching ได้ดีมากและชัดเจนมากครับ" ทำให้เห็นประเด็นต่างๆ ได้ชัดมากขึ้นเลยครับผม
●ผมนี้อมยิ้มแก้มปริครับ และสิ่งหนึ่งที่เป็นตัวบ่งชี้ได้ชัดว่ากระบวนการที่จัด (ใบงาน) ที่เราร่วมกันทำในบทบาทของ(หมอ)และ(พยาบาล)
มันเป็นสิ่งที่ดีงามมากครับ ขอชื่นชมครับ
● สิ่งดีๆ นี้เกิดขึ้นในงาน Appropriate Technology MATCHING DAY 2024 “เทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อชุมชนไทยยั่งยืน ประจำปี 2567” โซนภาคเหนือ ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติเอ็มเพรส โรงแรมดิเอ็มเพรส อ.เมือง จ.เชียงใหม่
● "หยิบดี" คอลัมที่ผมตั้งใจนำเรื่องราวดีๆ ที่ควรถูกนำมาเล่า มาสื่อสารให้เป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคม ในวงกว้างยิ่งขึ้น ติดตามดูนะครับว่าผมจะ หยิบดีเรื่องราวไหนมาเล่าต่อไปนะครับ


 

หยิบดี | ผลงานวิจัย "เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ไฟป่า "ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมจัดในบูธลำดับที่ (060) เพื่อแสดงผลงานในงาน Appropriate Technology MATCHING DAY 2024





หยิบดี | #ช่วงเช้า ผลงานวิจัย "เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ไฟป่า "ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมจัดในบูธลำดับที่ (060) เพื่อแสดงผลงานในงาน Appropriate Technology MATCHING DAY 2024 “เทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อชุมชนไทยยั่งยืน ประจำปี 2567” โซนภาคเหนือ ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติเอ็มเพรส โรงแรมดิเอ็มเพรส อ.เมือง จ.เชียงใหม่
● โดยผลงานนี้อยู่ภายใต้โครงการ “ลมหายใจเชิงดอย : การเพิ่มประสิทธิภาพกลไกการทำงานให้บริการสาธารณะเพื่อส่งเสริมสุขภาวะประชาชนของเครือข่ายเทศบาลลุ่มน้ำแม่กวงด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มการเตือนภัยจุดที่มีความร้อน” ซึ่งได้รับการสนับ สนุนงบประมาณจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ภายใต้แผนงานการยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อนำไปสู่กลไกพัฒนาพื้นที่เพื่อสร้างความเจริญและลดความเหลื่อมล้ำ
● ด้วยวิสัยทัศน์ของการเป็น “มหาวิทยาลัยนวัตกรรมเพื่อชุมชน” ที่ขับเคลื่อนนโยบายด้วย ผศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ที่สนับสนุนและส่งเสริมให้คณะวิจัยได้ทำงานที่ตอบโจทย์เชิงพื้นที่สำหรับขับเคลื่อนการทำงานร่วมกันและเป็นไปเพื่อแก้ไขปัญหาไฟป่าในพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม จึงมีการผนึกกำลังลงมือทำงานร่วมกันจากภาคีเครือข่ายในครั้งนี้ร่วมกัน
● ทั้งนี้อุปกรณ์ดังกล่าวที่ทางคณะวิจัยได้ออกแบบและสร้างขึ้นนี้จะช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปดับเพลิงได้ทันควบคุมการลามของไฟป่าได้รวดเร็วแม่นยำ โดยจะส่งสัญญาณกลับมายังศูนย์ควบคุม และแจ้งผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ รวมถึงเป็นการลดปัญหาหมอกควัน และฝุ่นละออง PM2.5 อันเกิดจากไฟป่า และการปฏิบัติการดังกล่าวจะเป็นไปเพื่อให้เกิดกลไกการเฝ้าระวังจุดที่มีความร้อน (Hotspot) ในพื้นที่ตำบลเชิงดอยและพื้นที่เครือข่ายลุ่มแม่น้ำกวงตอนบน ของเทศบาลตำบลเชิงดอยและเทศบาลในเครือข่าย เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกันและเป็นไปเพื่อแก้ไขปัญหาไฟป่าในพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม
● "หยิบดี" คอลัมที่ผมตั้งใจนำเรื่องราวดีๆ ที่ควรถูกนำมาเล่า มาสื่อสารให้เป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคม ในวงกว้างยิ่งขึ้น ติดตามดูนะครับว่าผมจะ หยิบดีเรื่องราวไหนมาเล่าต่อไปนะครับ