วันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2566

หยิบดี | ตอน : "กอดคอกันไปอย่างพี่น้อง"


 หยิบดี | ตอน : "กอดคอกันไปอย่างพี่น้อง"

จากความตั้งใจและอยากเห็นทุกคนในชุมชนมีการเรียนรู้และพร้อมร่วมกันพัฒนาผลผลิตของตนเองให้มีคุณภาพยิ่งๆ ขึ้น เพราะเราเชื่อว่ากาแฟไทยของเรายังไปได้อีกไกล และสามารถต่อสู้ แข่งขัน กับเวทีในระดับโลกในด้านคุณภาพและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของแหล่งปลูกนั้นๆ ได้อย่างสง่างาม
● ด้วยทางกลุ่ม Coffee Sci ได้ดำเนินงานในมิติของ ดิน ฟ้า กาแฟ และการเรียนรู้ในบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมร่วมกันปีนี้เป็นปีที่ 5 แล้ว โดยได้มีการทำงานเชิงพื้นที่ใน แหล่งปลูกกาแฟบ้านแม่จันหลวง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ทำให้ได้พบเห็นวิถีการทำงานและปัญหา ตลอดจนความต้องการในการพัฒนาในเชิงพื้นที่ของเกษตรกร
● วันที่ 25-26 ธันวาคม 2566 ได้รับเชิญให้มาเป็นวิทยากรร่วมให้ความรู้ภาคสนามและติดตามผลผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟบ้านแม่จันหลวง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ภายใต้โครงการวิจัย : นวัตกรรมฐานข้อมูลดินและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโดยใช้แบบจำลองพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลขและระบบวิทยาการข้อมูลเพื่อบริหารจัดการวางแผนทางด้านการเกษตร (ปี2) พืชกาแฟ
● ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในมิติต่างๆ ของสถานการณ์ในการผลิตกาแฟปี 2566-2567 ของพี่ๆเกษตรกร ตลอดจนได้มีข้อซักถามดีๆ ข้อเสนอแนะดีๆ ในกลุ่มพี่เกษตรกรที่สามารถนำมาเป็นตัวอย่างที่ดี ในการนำไปขยายผลสำหรับการจัดการในแปลงปลูกกาแฟปีต่อๆ ได้
● "หยิบดี" คอลัมที่ผมตั้งใจนำเรื่องราวดีๆ ที่ควรถูกนำมาเล่า มาสื่อสารให้เป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคม ในวงกว้างยิ่งขึ้น ติดตามดูนะครับว่าผมจะ หยิบดีเรื่องราวไหนมาเล่าต่อไปนะครับ

หยิบดี | ตอน : "ความสุขที่ระดับ1,508 เมตรจากระดับน้ำทะเล


 หยิบดี | ตอน : "ความสุขที่ระดับ1,508 เมตรจากระดับน้ำทะเล

"เพราะ"บทกวี" ไม่ได้เป็นสิ่งเพ้อฝัน แต่คือถ้อยคำที่ช่วยเยียวยาความขมของโลกแห่งความจริง เช่นเดียวกับกาแฟที่ไม่ได้มีดีแค่คาเฟอีน หากแต่มันมีมิตร ภาพที่มากมาย ช่วงเวลาที่ผ่านมา กาแฟได้นำพาให้ผมมาพบเจอมิตรภาพหลากหลาย และยิ่งนานวันมันยิ่งมีความผูกพันธ์กันมากขึ้น เหมือนหนึ่งในสมาชิกครอบครัวกัน

• กาแฟนำพาให้ผมมาพบเจอพี่ๆ ทุกแหล่งปลูก พบเจอรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ความอบอุ่น ความห่วงใย มิตรภาพ พี่ๆหลายๆคน เคยถามผมว่าอาจารย์ทำงานอยู่ที่ในห้องแอร์สอนหนังสือสบายๆ แล้วออกมาขึ้นดอย ลงห้วย ไต่เขา ให้เหนื่อยทำไม คำตอบของผมที่ให้พี่ๆ คือ "รอยยิ้ม" ผมบอกกับพี่ๆ ว่าถ้าผมอยู่แต่เพียงในห้องสี่เหลี่ยมก็คงไม่พบเจอสิ่งดีๆเหล่านี้เป็นแน่ครับ

• โลกใบนี้ยังมีอะไรให้ทำอีกมากมาย ร้อยอย่าง พันอย่าง แสนอย่าง อย่ารอให้เวลาหมุนไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้ทำอะไรเลย มันจะเป็นอะไรที่เสียดายมากนะครับ

• ด้วยทางกลุ่ม Coffee Sci ได้ดำเนินงานในมิติของ ดิน ฟ้า กาแฟ และการเรียนรู้ในบริบทของการเปลี่ยน แปลงทางสังคมร่วมกัน โดยได้มีการทำงานเชิงพื้นที่ใน 9 แหล่งปลูกกาแฟในภาคเหนือ ทำให้ได้พบเห็นวิถีการทำงานและปัญหา ตลอดจนความต้องการในการพัฒนาในเชิงพื้นที่ของเกษตรกร

• จากความตั้งใจและอยากเห็นทุกคนในชุมชนมีการเรียนรู้และพร้อมร่วมกันพัฒนาผลผลิตของตนเองให้มีคุณภาพยิ่งๆ ขึ้น เพราะกาแฟไทยเรายังไปได้อีกไกล

หยิบดี | "นำวิทยาศาสตร์อย่างง่ายสู่ชุมชน"





 หยิบดี | "นำวิทยาศาสตร์อย่างง่ายสู่ชุมชน"

"ดิน ฟ้า กาแฟ"ยังเป็นมิติที่ทีมงาน Coffee sci เรายังให้ความสนใจและยังมุ่งมั่นในการร่วมช่วยปัญหาในเชิงพื้นที่ เมื่อสภาพอากาศแปร ปรวน ดังนั้นการนำวิทยาศาสตร์อย่างง่ายสู่ชุมชนในฉบับของทีมเราจึงนำมาขยายผลและลงพื้นที่ทำงานร่วมกับพี่ๆ เกษตรผู้ปลูกกาแฟบ้านแม่จันหลวง
● ได้รับเชิญให้มาเป็นวิทยากรร่วมให้ความรู้ภาคสนามและติดตามผลผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟบ้านแม่จันหลวง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ภายใต้โครงการวิจัย : นวัตกรรมฐานข้อมูลดินและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโดยใช้แบบจำลองพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลขและระบบวิทยาการข้อมูลเพื่อบริหารจัดการวางแผนทางด้านการเกษตร (ปี2) พืชกาแฟ
● "หยิบดี" คอลัมที่ผมตั้งใจนำเรื่องราวดีๆ ที่ควรถูกนำมาเล่า มาสื่อสารให้เป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคม ในวงกว้างยิ่งขึ้น ติดตามดูนะครับว่าผมจะ หยิบดีเรื่องราวไหนมาเล่าต่อไปนะครับ

หยิบดี | "ลุกขึ้นมาทำ" เติมเต็มโลกกาแฟ


หยิบดี | "ลุกขึ้นมาทำ" เติมเต็มโลกกาแฟ

ขอนำสิ่งดีๆ ฉบับย่อยง่ายมาเล่าสู่กันอีกสักหนึ่งตอน ซึ่งเป็นทริปแห่งการเดินทางท้ายสุดของปี 2023 ของเหล่าสมาชิกทีม Coffee Sci เนื้อหาได้พูดเกี่ยวกับกระแสของการบริโภคกาแฟอราบิก้า ของประเทศไทยเอาไว้ได้เข้าใจง่ายๆ แบบตรงไปตรงมา ผ่านมุมมองของคนเดินทางลงพื้นที่พบพี่ๆ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟมาตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ดังนี้
● การพัฒนาคุณภาพกาแฟด้วยกระบวนการผลิตที่พิถีพิถัน จึงเป็นวิธีที่จะช่วยสร้างคุณค่าและมูลค่าของกาแฟไทย ที่สำคัญคือ เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพร้อมกับช่วยฟื้นฟูป่าต้นน้ำอันเป็นแหล่งปลูกกาแฟอราบิก้าไทย ก็เป็นอีกหนึ่งคุณค่าของกาแฟที่จะช่วยให้เกิดมูลค่ามากขึ้น นั้นจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่บรรดาคนในวงการกาแฟต้องร่วมมือกันขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนากาแฟให้มีคุณภาพ และสร้างความแตกต่างด้วยเอกลักษณ์ของแต่ละแหล่งปลูก
● ความนิยมด้านการบริโภคกาแฟของคนไทยเปลี่ยนจากโอเลี้ยงหรือโอยั๊วะเป็นกาแฟคั่วบดรสชาติหวานมัน จากนั้นวัฒนธรรมของสภากาแฟไทยก็ก้าวเข้าสู่ยุคของ "กาแฟคุณภาพพิเศษ" (Specialty Coffee) มากขึ้นตามความนิยมของตลาดกาแฟโลก ที่ได้ส่งผ่านความรู้เกี่ยวกับกาแฟซึ่งน่าค้นหาจนทำให้เกิดความหลงไหล
● กาแฟอราบิก้าในประเทศไทยได้รับการส่งเสริมให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงปลูก เกิดการพัฒนาสายพันธุ์เรื่อยมาเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและพื้นที่ของประเทศไทย จนผ่านไปเนิ่นนานหลายปี กาแฟบางพื้นที่ไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างต่อเนื่องอาจจะด้วยหลายเหตุปัจจัย จนมีบางพื้นที่ต้นกาแฟถูกละเลยทิ้งขว้าง ไม่ได้รับการใส่ใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายมาก
● แต่เพราะทีม Coffee Sci เราเชื่อว่ากาแฟไทยยังดีได้กว่านี้อีก เราจึง "ลุกขึ้นมาทำ" ร่วมกันทำใน มิติ ดิน ฟ้า กาแฟ พร้อมๆ กับร่วมมองไปข้างหน้าถึงมิติการพัฒนาในด้านอื่นๆ กับพี่ๆ เกษตรกรบ้านแม่จันหลวงที่มีการปลูกกาแฟในระบบสวนผสมผสาน มีเชอรี่ ลูกท้อ และพลับ แม่จันหลวงเป็นหมู่บ้านที่ถือว่ามีความสวยงามของธรรมชาติ และที่ขาดไม่ได้เลยคือความโดดเด่นในการเป็นไร่ชาที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ และมีชื่อเสียงมากระดับโลก
● "หยิบดี" คอลัมที่ผมตั้งใจนำเรื่องราวดีๆ ที่ควรถูกนำมาเล่า มาสื่อสารให้เป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคม ในวงกว้างยิ่งขึ้น ติดตามดูนะครับว่าผมจะ หยิบดีเรื่องราวไหนมาเล่าต่อไปนะครับ
รูปโดย Cr : マノーチャイ バピット

วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2566

หยิบดี | ใกล้เข้าสู่ฤดูการเก็บเกี่ยวกาแฟ


 หยิบดี | ใกล้เข้าสู่ฤดูการเก็บเกี่ยวกาแฟ

กาแฟจะออกดอกหลังจากผ่านสภาวะความแห้งแล้งและผ่านความชุ่มชื้นจากฝนหรือการให้น้ำแล้ว หลังจากปลูกไปแล้วประมาณปีที่ 3 จากนั้นจะพัฒนากลายเป็นผลจนสุกสีแดง และช่วงนี้ใกล้จะเข้าสู่ช่วงฤดูของการเก็บเกี่ยวเชอรี่กาแฟกันแล้ว ผมจึงนำข้อมูลดีๆ ฉบับย่อยง่ายๆ เกี่ยวกับวิธีการเก็บเกี่ยวมาเล่าสู่กันดังนี้นะครับ

#วิธีการเก็บเกี่ยว
● ควรเก็บเฉพาะผลผลิตที่สุกสีแดงเท่านั้น ผล ผลิตในหนึ่งช่อจะสุกไม่พร้อมกัน ผลกาแฟที่แก่แต่ไม่สุก เมื่อนำไปแปรรูปจะทำให้กาแฟที่ได้มีคุณภาพที่ไม่ดี

● ใช้วัสดุที่เป็นแผ่น เช่น ตาข่ายตาถี่ปูใต้โคนต้นแล้วเก็บเฉพาะผลที่สุก ถ้าร่วงหล่นลงมาบนตาข่ายแล้ว สามารถรวบรวมผลผลิตของแต่ละต้นนำไปคัดแยกคุณภาพ

● ไม่ควรเก็บผลกาแฟโดยใช้วิธีรูดทั้งกิ่ง เพราะจะทำให้ได้สารกาแฟคุณภาพต่ำ
นำผลกาแฟที่เก็บเกี่ยวแล้วมาคัดแยกคุณภาพ ผลกาแฟที่แก่จัดเกินไปซึ่งมีสีแดงเข้ม หรือผลที่แห้งคาต้นผลที่ร่วง หรือหล่นตามพื้น ควรถูกคัดแยกออกจากกัน

● บางสายพันธุ์ผลสุกจะเป็นสีเหลือง เพราะฉะนั้น ควรศึกษาข้อมูลสายพันธุ์กาแฟที่เลือกเก็บให้ดีเสียก่อน

● การทดสอบผลสุกพร้อมที่จะเก็บเกี่ยว สามารถทำได้โดยการเก็บผลกาแฟแล้วใช้นิ้วบีบผล หากผลสุกเปลือกจะแตกง่ายและเมล็ดกาแฟจะโผล่ออกมาจากเปลือก

● การเก็บผลควรจะพิจารณาการสุกของผลของแต่ละกิ่งที่ให้ผลในแต่ละต้นว่ามีผลสุกมากกว่าร้อยละ 50 สำหรับการเก็บผลผลิตครั้งแรก ซึ่งปกติการเก็บผลกาแฟจะต้องใช้เวลาเก็บประมาณ 2 ถึง 4 ครั้งต่อฤดูกาล

● หยิบดี" คอลัมที่ผมตั้งใจนำเรื่องราวดีๆ ที่ควรถูกนำมาเล่า มาสื่อสารให้เป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคม ในวงกว้างยิ่งขึ้น ติดตามดูนะครับว่าผมจะ หยิบดีเรื่องราวไหนมาเล่าต่อไปนะครับ

#ที่มาข้อมูล : บทความ"การเก็บเกี่ยวและการแปรรูปกาแฟ" M-Group: Article Article: ศูนย์รวมบทความ สาระน่ารู้ ข่าวสาร เกี่ยวกับการเกษตร และเรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ https://www.m-group.in.th

วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2566

หยิบดี | เหตุผล 3 ข้อว่าทำไมการเดินทางจึงเป็นการศึกษาที่ดีที่สุด


หยิบดี | เหตุผล 3 ข้อว่าทำไมการเดินทางจึงเป็นการศึกษาที่ดีที่สุด ซึ่งการได้ออกจากห้องสี่เหลี่ยมแล้วเดินทางไปในโลกกว้างจะเป็น การตัดสินใจที่ดีที่สุดของคุณ และนี่คือ 3 เหตุผลว่าทำไมต้องมีการเดินทางไปในพื้นที่ตนเองอยากจะไปสักครั้งในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต

1. การเดินทางคือการเรียนรู้
การเดินทางเป็นมากกว่าโอกาสที่จะทำให้การเรียนเป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจเท่านั้น เพราะการได้ท่องไปในโลกกว้างจะช่วยให้คุณเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเองมากขึ้น สามารถสร้างตัวตนที่เข้มแข็งและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น บ่อยครั้งที่ประสบการณ์การเดินทางทำให้คุณได้พบคำตอบสำหรับคำถามเก่าๆ ที่ว่า ‘คุณเป็นใคร?’ และ ‘คุณอยากทำอะไรกับชีวิตของคุณ?’ และช่วยให้คุณได้วางแผนสร้างสรรค์อนาคตในแบบที่ใช่สำหรับคุณ
2. การเดินทางคืออิสระ
การเดินทางคือประสบการณ์ในโลกแห่งความจริง เป็นการเรียนรู้ที่จะโบยบินออกจากรังและดูแลตัวคุณเอง ช่วยให้คุณเกิดความเข้าใจว่า คุณสามารถแก้ปัญหาและมีชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเอง และเรียนรู้ที่จะเชื่อว่าคุณพร้อมสำหรับทุกสิ่งที่จะถาโถมเข้ามาในชีวิตของคุณ คุณแข็งแกร่ง และคุณรับมือได้ทุกอย่าง
3. การเดินทางคือความรู้สึก
ณ จุดหนึ่งในการเดินทางของคุณ คุณจะได้รู้สึกตื่นเต้น กังวล เบิกบาน คิดถึงบ้าน และสุขใจ การเดินทางอาจเป็นเหมือนรถไฟเหาะทางอารมณ์ที่พาคุณพุ่งทะยานขึ้นสูงลิ่วและดำดิ่งลงเบื้องล่างได้อย่างน่าทึ่ง แต่เมื่อคุณได้สัมผัสกับการเดินทางและรู้สึกถึงความน่าอัศจรรย์ หัวใจและวิญญาณของคุณจะเรียกร้องหาสิ่งนี้อีกโดยไม่รู้จบ

วันพุธที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2566

หยิบดี | "จะทำได้หรือ???" เป็น "คำถาม" ซึ่งมักจะถูกถามจากคนรอบข้าง





 หยิบดี | "จะทำได้หรือ???" เป็น "คำถาม" ซึ่งมักจะถูกถามจากคนรอบข้าง เมื่อมีหลายคนทราบถึง "ความฝัน" ของพวกเขาพวกเธอ ที่จะตัดสินใจลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงทางเดินชีวิตของตัวเองครั้งใหญ่ในเส้นทาง "เกษตรกรอาชีพ" ที่จะกลับมาพัฒนาพื้นที่สวนกาแฟที่เป็นต้นทุนเดิมของครอบครัว

● กว่าที่ทุกวันนี้จะได้รับการยอมรับและสนับสนุนจากครอบครัวในทุกด้านแล้ว ต้องแลกมาด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจที่ทีมงานวิสาหกิจชุมชนกาแฟพิเศษบ้านห้วยน้ำกืน (ทีมงานสี่เต่าทอง) ได้ทำให้เห็นมาตลอด แววตาที่ปิติทุกครั้งที่พ่อ แม่ ลุง ป้า น้า อา ที่ได้เฝ้ามองและติดตามการทำงานของทีมงานตลอดการทำงาน ดูมีความสุข และอิ่มเอมใจมาก ผมรับรู้ได้ถึง "พลังงานแห่งความสุข" นี้ได้จากการได้พูดคุยกันระหว่างทำงานร่วมกัน
●ใจพองฟู มากขณะที่นั่งตัดไม้กับพ่อ(น้องน้ำหวาน) บทสนทนาพ่อกล่าวขอบคุณผมและทีมงานว่าขอบคุณอาจารย์ น้องๆทีมงาน Coffee sci และน้องๆทีมงาน School coffee มากๆ ที่มาช่วยครอบครัว และยินดีต้อนรับเสมอนะครับ บทสนทนาสั้นๆ แต่มากด้วยความรู้สึก ขอบคุณกำลังใจและสิ่งสวยงามนี้ครับ แล้วเราจะกลับไปสร้างสรรค์สิ่งดีงามในพื้นที่อีก และนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฉบับย่อยง่ายนำสู่ชุมชนต่อไปนะครับ รอติดตามสิ่งดีๆ เร็วๆนี้กันนะครับ
● หยิบดี" คอลัมที่ผมตั้งใจนำเรื่องราวดีๆ ที่ควรถูกนำมาเล่า มาสื่อสารให้เป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคม ในวงกว้างยิ่งขึ้น ติดตามดูนะครับว่าผมจะ หยิบดีเรื่องราวไหนมาเล่าต่อไปนะครับ

หยิบดี | กาแฟเชื่อมสัมพันธ์


หยิบดี | กาแฟเชื่อมสัมพันธ์

จากความตั้งใจและอยากเห็นทุกคนในชุมชนมีการเรียนรู้และพร้อมร่วมกันพัฒนาผลผลิตของตนเองให้มีคุณภาพยิ่งๆ ขึ้น ตลอดจนร่วมกันขยายผลทำงานในมิติด้าน ดิน ฟ้า กาแฟ สิ่งแวดล้อม และเรียนรู้บริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปพร้อมกัน เพราะเราเชื่อว่ากาแฟไทยเรายังไปได้อีกไกล

● กาแฟนำพาให้ผมมาพบเจอพี่ๆ ทุกแหล่งปลูก พบเจอรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ความอบอุ่น ความห่วงใย มิตรภาพ พี่ๆหลายๆคน เคยถามผมว่า อาจารย์ทำงานอยู่ที่ในห้องแอร์สอนหนังสือสบายๆ แล้วออกมาขึ้นดอย ลงห้วย ไต่เขา ให้เหนื่อยทำไม คำตอบของผมที่ให้พี่ๆ คือ "รอยยิ้ม" ผมบอกกับพี่ๆ ว่าถ้าผมอยู่แต่เพียงในห้องสี่เหลี่ยมก็คงไม่พบเจอสิ่งดีๆเหล่านี้เป็นแน่ครับ
● โลกใบนี้ยังมีอะไรให้ทำอีกมากมาย ร้อยอย่าง พันอย่าง แสนอย่าง อย่ารอให้เวลาหมุนไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้ทำอะไรเลย มันจะเป็นอะไรที่เสียดายมากนะครับ
● กาแฟไม่ได้มีดีแค่คาเฟอีน หากแต่มันมีมิตร ภาพที่มากมาย ช่วงเวลาที่ผ่านมา กาแฟได้นำพาให้ผมมาพบเจอมิตรภาพหลากหลาย และยิ่งนานวันมันยิ่งมีความผูกพันธ์กันมากขึ้น เหมือนหนึ่งในสมาชิกครอบครัวกัน

หยิบดี | มองเห็นก็เป็นสุข (ฉบับใจฟองฟู)




 

หยิบดี | มองเห็นก็เป็นสุข (ฉบับใจฟองฟู) ย้อนไปในวัยเรียนปริญญาตรีปี 1 ยุคที่ทุกคนรุ่นผมต้องรู้จักกับหนังสือ a day กัน ซึ่งเป็นหนังสือที่ทรงอิทธิพลทางความคิด แวกแนว อินดี้ การนำเสนอรูปมุมมองใหม่ ตลอดจนแฝงไปด้วยความเท่ห์ที่ทันยุคทันสมัย แน่นอนถ้าเมื่อไรหนังสือ a day ออกวางแผงเมื่อไร จะต้องมีประเด็นเรื่องราวอัพเดทให้ได้กล่าวขานกันทั่วเลยครับ

• ด้วยความชอบส่วนตัว และเป็นคนชอบอ่าน ชอบเขียน ผมจึงได้มีโอกาสมาเจอหนังสือสายพันธุ์พื้นเมืองเหนือ (สายพันธุ์เชียงใหม่) ชื่อว่า หนังสือ d'magazine simple style เป็นหนังสือที่เกิดขึ้นในเชียงใหม่โดยมีสำนักงานที่ศูนย์การค้ากาดสวนแก้ว ใครอยู่ในยุคเดียวกับผมต้องรู้จักแน่นอน ซึ่งมีแนวทางนำเสนอคล้ายๆ a day แต่จะเน้นการนำเสนอเรื่องราวของเชียงใหม่มากกว่าโดยมีจุดเด่นที่รูปประกอบสวยงาม และเรื่องราวสุดกวน
• จากความชอบเขียนเป็นทุนเดิมผมจึงมีโอกาสได้ร่วมเขียนบทความในหนังสือของ d'magazine หลายบทความจากการชักชวนของพี่ๆ กองบรรณาธิการ จริงๆ เริ่มต้นจากการที่ผมได้ลองเขียนต้นฉบับในชื่อเรื่องว่า "เรื่องวุ่นกับเจ้าสิ้นคิด" ส่งมาให้ที่กองบรรณาธิการของ d'magazine ซึ่งผลปรากฎว่าพี่ๆ กองบรรณธิการชอบเรื่องเล่าสไตล์ผมที่ได้เขียนเรื่องราวในการมองเชียงใหม่ให้ลึกกว่าเดิม ผ่านเหตุการณ์ดีๆ ที่ผมเจอมา จึงได้ลงใน Vol : 1 issue 4 ของหนังสือประจำเดือนสิงหาคม 2545
•หลังจากนั้นจึงมีโอกาสได้เขียนอีกหลายบทความอาทิเช่น
° เรื่องวุ่นกับเจ้าสิ้นคิด
° วัคซีนเห็นผี
° นรัก (falling in love)
วันนี้กลับมาที่บ้านเดินมาที่ชั้นหนังสือเพื่อจะหาหนังสือเล่มเดิมสักเล่มที่เคยสร้างแรงบันดาลใจให้ตนเองเมื่อหลายปีก่อนกลับมาอ่านดู แล้วเจอหนังสือ d'magazine นี้พอดีจึงเปิดอ่านย้อนลำดับความคิด ความอ่าน และภาพต่างๆ ในอดีตย้อนกลับมา จึงขอนำเรื่องราวดีนี้มาบันทึกเก็บเอาไว้ในคอลัมหยิบดีนี้
• ไว้ครั้งต่อไปจะหาโอกาสนำเรื่องราวดีๆ ในหนังสือมาเล่าสู่กันผ่านมองเชียงใหม่ให้ลึกกว่าเดิม ของผมที่ได้เขียนเอาไว้เมื่อหลายสิบปีก่อน รอติดตามกันนะครับ

หยิบดี | ตอน : บทบาทโค้ชชิ่ง (Coaching)

หยิบดี | ตอน : บทบาทโค้ชชิ่ง (Coaching) เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน "ทำหน้าที่คอยช่วยเหลือและสนับสนุน กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และปฏิบัติงานโครงงานให้สำเร็จลุล่วง โดยคอยสังเกตและตรวจสอบความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานของผู้เรียน หากพบว่ามีเหตุขัดข้องประการใดจะคอยเกื้อหนุนประสานฝ่ายต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานของผู้เรียนสามารถดำเนินต่อไปได้จนเสร็จสมบรูณ์"
● บทสัมภาษณ์เมื่อ 6 ปีก่อนที่ผมได้พูดไว้เมื่อร่วมทำโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (Science Based Technology College : SBTC) ซึ่งตอนนั้นได้รับโอกาสในการทำงานเป็นมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงให้กับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน และตอนนี้ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้และขยายผลต่อ
● ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2 ของการจัดการศึกษาที่เน้น"ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติการ" ของหลักสูตรเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ ที่ตรงตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยมีกลไกการเรียนการสอนในรูปแบบการเรียนรู้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) ของหลักสูตรเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาดอยสะเก็ด โดยมีโค้ชชิ่ง (Coaching) คอยให้คำแนะนำ ปรึกษา ช่วยเหลือ ร่วมกันกับอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก และอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ของนักศึกษาแต่ละกลุ่ม ทำให้นักศึกษาได้แนวคิด มุมมอง สำหรับการทำโครงงานที่รอบด้านมากขึ้น
● ตลอดจนเปิดโอกาสให้เยาวชนที่มีความสามารถทางวิศวกรรม หรือมีความสามารถในทางการประดิษฐ์ การคิด การออกแบบ ความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เข้าศึกษาต่อในสาขาที่ถนัด เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมงานทางด้านสายอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
● หยิบดี" คอลัมที่ผมตั้งใจนำเรื่องราวดีๆ ที่ควรถูกนำมาเล่า มาสื่อสารให้เป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคม ในวงกว้างยิ่งขึ้น ติดตามดูนะครับว่าผมจะ หยิบดีเรื่องราวไหนมาเล่าต่อไปนะครับ

 

หยิบดี | Up date "สถานการณ์ของวงการกาแฟกำลังเข้าขั้นวิกฤต"





หยิบดี | Up date "สถานการณ์ของวงการกาแฟกำลังเข้าขั้นวิกฤต" บทสนทนากับครูใหญ่แห่ง School coffee (พี่บิ๊ก) ครั้งนี้ได้ร่วมกันพูดคุยในวิกฤตฝั่งของการเกษตรกรรมครับ คือจำนวนกาแฟที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เกิดจากประเด็นเรื่องของธรรมชาติ ประกอบไปด้วย ดิน อากาศ น้ำ ฯลฯ Climate Change ที่เปลี่ยนแปลงตลอดทั้งฤดูกาล อุณหภูมิ ความร้อน ความหนาว ทำให้ต้นกาแฟที่เคยแข็งแรงในสภาวะที่มันเคยเป็นอยู่ ก็ป่วยได้ง่ายขึ้น

●โดยธรรมชาติ พอกาแฟได้น้ำก็จะผลิตยอดผลิตใบขึ้นมา เข้าสู่ช่วงฤดูหนาวก็จะเริ่มแห้งแล้ง เริ่มสร้างดอก สร้างผล แล้วกลายเป็นลูกเชอร์รี แต่คราวนี้ฤดูกาลมันสั้นลง ไม่ได้ทิ้งช่วงเหมือนทุก ๆ ปี เกิดฝน เกิดแล้ง เกิดหนาว 2 ครั้งแล้วใน 1 ปี ซึ่งจะส่งผลยังไงก็ยังไม่รู้ ต้องลองไปชิมกันดู
●เรื่องน้ำ เราเจอฝนตกระหว่างฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งมันไม่ควรจะเกิดขึ้นบ่อย แทนที่เชอร์รีจะต้องสุกสมบูรณ์ กลายเป็นสุกแค่ 80% คุณภาพก็ลดลงแล้ว การลำเลียงน้ำของต้นแม่ก็ทำให้เชอร์รีบางส่วนแตก คือลูกๆ ได้กินแต่น้ำ บวมน้ำ จนมันเต่งแล้วก็แตก ลดจำนวนของเมล็ดกาแฟที่เกษตรกรจะเก็บเกี่ยวผลผลิตลงได้
●สิ่งมีชีวิตที่เราเรียกว่าศัตรูพืช มันเติบโตแข็งแรงมากขึ้นเหมือนไวรัสที่แปลงตัวเองเป็นโควิด-19 เชื้อจุลินทรีย์ แบคทีเรีย ตัวแมลงก็มีผลโดยตรงกับลูกเชอร์รี มอดเจาะผลกาแฟ สร้างลูกสร้างไข่กันในนั้น ทำให้กาแฟแต่ละสวนสูญเสียไป 10% จนถึง 70% ผลิตกาแฟมาตันหนึ่ง ขายได้แค่ 300 โล บวกกับฝนตกยาวนานมากขึ้น ความชื้นเป็นปัจจัยให้แบคทีเรียและเชื้อราเติบโตได้ดี ทำให้ต้นไม้ตาย
●ซึ่งเราเชื่อว่ากาแฟไทยสามารถพัฒนาและดีขึ้นได้กว่านี้อีก หากทุกคนร่วมด้วยช่วยกันหาแนวทางป้องกัน และบริหารจัดการส่วนของตนเองโดยการเลือกปลูกไม้ร่ม สร้างร่มเงาที่เหมาะสม และจัดระบบนิเวศภายในสวนของตนเองให้เหมาะสมตามธรรมชาติ แล้วธรรมชาติจะจัดสรรสิ่งดีงามให้ เป็นกำลังใจให้พี่ๆเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟทุกแหล่งปลูกนะครับ
● "หยิบดี" คอลัมที่ผมตั้งใจนำเรื่องราวดีๆ ที่ควรถูกนำมาเล่า มาสื่อสารให้เป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคม ในวงกว้างยิ่งขึ้น ติดตามดูนะครับว่าผมจะ หยิบดีเรื่องราวไหนมาเล่าต่อไปนะครับ

หยิบดี | "มอดศัตรูตัวร้ายในสวนกาแฟ"

 


หยิบดี | "มอดศัตรูตัวร้ายในสวนกาแฟ"
มีพี่ๆ เกษตรกรหลายท่านได้สอบถามและ inbox เข้ามาถามผมโดยอยากให้นำข้อมูลเกี่ยวกับศัตรูตัวร้ายอย่าง "มอด" และวิธีการป้องกันแก้ไข มาเขียนเล่าให้ทุกคนได้อ่านกัน วันนี้ผมเลยจัดให้ตามคำขอนะครับ

● จากบทความของ Sirichai,2019 [1] ได้เขียนถึงความเร็วในการแพร่กระจายของมอดสมมุติว่านำมอด 1 ตัวไปปล่อยไว้ในสวนกาแฟ สิ่งที่เกิดขึ้นคือมอดสามารถวางไข่ได้ประมาณ 60 -100 ใบต่อผลกาแฟ 1 ผล

•ดังนั้นสมมุติว่า มอด 1 ตัว สามารถผลิตมอดโตเต็มวัยได้ประมาณ 20 ตัว สมมุติว่าตั้งแต่วางไข่จนได้ตัวเต็มวัยใช้เวลาอยู่ที่ 30 วัน เมื่อเวลาผ่านไป 5 เดือน

• วิธีคำนวนง่ายๆ คือมอดสามารถเติบโตได้ด้วยอัตราเร่งแบบ Exponential คือ 20 ยกกำลัง 5 ดังนั้นมอด 1 ตัวเมื่อผ่านไป 5 เดือน จะมีมอดในสวนกาแฟทั้งหมด 3,200,000 ตัว (สามล้านสองแสนตัว)

• ถ้าคำนวนคร่าวๆ ว่ามอด 3.2 ล้านตัวโจมตีเมล็ดกาแฟแต่ละเมล็ด เท่ากับว่าเมล็ดกาแฟเสียหายกว่า 3.2 ล้านเมล็ดคิดเป็นน้ำหนักรวมทั้งหมดประมาณ 640 กิโลกรัม (เมล็ดสาร 1 เมล็ดหนัก 0.2 กรัม) หรือมูลค่ากว่า 102,400 บาท (ราคากาแฟสารกิโลละ 160 บาท)

● จากงานวิจัย Mendesil et al., 2004 [2] พบว่ามอดจะโจมตีผลกาแฟอย่างหนักช่วงที่ผลกาแฟเริ่มสุก โดยเจาะเข้าทางฐานใต้ผลกาแฟ เนื่องจากกาแฟเป็นพืชที่ติดผลปีละครั้งมอดจำเป็นต้องมีที่อยู่ในช่วงที่ผลกาแฟยังไม่ติดผล และที่อยู่นั่นคือผลที่แห้งคาต้นหรือผลที่ร่วงอยู่บนพื้น

• Mendesil et al., 2004 [2] พบว่าจำนวนของมอดในผลกาแฟที่ค้างอยู่บนต้นมีจำนวนมากกว่าผลกาแฟที่ตกอยู่ที่พื้น แสดงว่ามอดชอบผลกาแฟที่แห้งคาต้นมากกว่าผลกาแฟที่ตกบนพื้นแต่ในกรณีที่ไม่มีผลกาแฟแห้งคาต้น ผลกาแฟที่หล่นบนพื้นก็เป็นหนึ่งแหล่งขยายพันธุ์ของมอด ดังนั้นการทำลายเมล็ดกาแฟที่ค้างคาต้น หรือตกหล่นน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้มอดแพร่กระจาย และป้องกันไม่ให้มอดข้ามจากฤดูกาลหนึ่งไปยังอีกฤดูกาลหนึ่ง

● สรุป : มอดเป็นแมลงศัตรูพืชของกาแฟที่ใช้เวลากว่า 90% อาศัยอยู่ในผลกาแฟ ทำให้ไม่สามารถใช้วิธีใดวิธีหนึ่งในการกำจัดได้ แต่เป็นปัญหาที่ต้องแก้ด้วยความอดทนและใส่ใจวิธีป้องกันมอดที่ทางทีมงาน Coffeesci ได้หาข้อมูลมา จึงขอนำเสนอวิธีให้กับพี่ๆ น้องๆ เกษตรกรได้นำไปปรับใช้กัน ดังนี้นะครับ

1.ทำลายผลกาแฟที่มีมอดเจาะ
2.เก็บผลกาแฟที่แห้งคาต้น และตกหล่นมาใส่กระป๋องน้ำออกมาทำลายนอกพื้นที่สวน
3.กับดักสามารถใช้ลดการแพร่กระจาย และบ่งบอกถึงจำนวนของมอดในสวนได้
4.ป้องกันไม่ให้มอดหลุดเข้ามาที่สวน
5.การปลูกต้นไม้ จัดระบบนิเวศภายในสวนเพื่อให้เกิดการจัดการภายในสวนแบบธรรมชาติ เช่น นกมากิน หรือสัตว์ต่างๆ มากิน

● อ้างอิงที่มาข้อมูล

[1] Sirichai, "วงจรชีวิตของมอดกาแฟ (Coffee Berry Borer)และวิธีป้องกันมอดในกาแฟ," JULY, 19, 2019.[Online]. Available:
https://beanshere.com/.../understand-coffee-berry-borer/...

[2] E.Mendesil, B.Jembere and E.Seyoum,"Population dynamics and distribution of the coffee berry borer, Hypothenemus hampei (Ferrari) (Coleoptera: Scolytidae) on Coffea arabica L. in Southwestern Ethiopia," SINET Ethiopian Journal of Science,vol.27,no.2, pp.127–134, 2004.