วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2567

หยิบดี | RMUTLพิษณุโลก "มุ่งสนับสนุนส่งเสริมอย่างมีทิศทาง"


 หยิบดี | #RMUTLพิษณุโลก "มุ่งสนับสนุนส่งเสริมอย่างมีทิศทาง"สถาบันวิจัยและพัฒนา ลงพื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาพื้นที่ตาก เพื่อให้การชี้แจงแนวทางกรอบทุนวิจัย (Fundametal Fund) FF-69 การติดตามผลโครงการวิจัยทุน FF-67 และการเก็บข้อมูลมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และสัตว์ทดลองเพื่องานทางวิทยาศาสตร์

● โดยนำแนวทางการสนับสนุนและส่งเสริมให้คณะวิจัยได้ทำงานที่ตอบโจทย์เชิงพื้นที่ โดยนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมสู่พื้นที่ ขับเคลื่อนนโยบายด้วย ผศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภายใต้แนวคิด"กินได้ ใช้ได้ อยู่ได้ ขายได้"
● ซึ่งได้มีการนำเสนอรายละเอียด ดังนี้
[1] NAS Grooming 1 : Idea&Tools
[2] UBI : การส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนา
นักศึกษาเป็นผู้ประกอบการ
[3] การชี้แจงแนวทางกรอบทุนวิจัย FF-69
[4] การติดตามผลโครงการวิจัยทุน FF-67
[5] การเก็บข้อมูลมาตรฐานจริยธรรมการวิจัย
ในมนุษย์และสัตว์ทดลองเพื่องานทาง
วิทยาศาสตร์
● "หยิบดี" คอลัมที่ผมตั้งใจนำเรื่องราวดีๆ ที่ควรถูกนำมาเล่า มาสื่อสารให้เป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคม ในวงกว้างยิ่งขึ้น ติดตามดูนะครับว่าผมจะ หยิบดีเรื่องราวไหนมาเล่าต่อไปนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2566

หยิบดี | ตอน : "กอดคอกันไปอย่างพี่น้อง"


 หยิบดี | ตอน : "กอดคอกันไปอย่างพี่น้อง"

จากความตั้งใจและอยากเห็นทุกคนในชุมชนมีการเรียนรู้และพร้อมร่วมกันพัฒนาผลผลิตของตนเองให้มีคุณภาพยิ่งๆ ขึ้น เพราะเราเชื่อว่ากาแฟไทยของเรายังไปได้อีกไกล และสามารถต่อสู้ แข่งขัน กับเวทีในระดับโลกในด้านคุณภาพและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของแหล่งปลูกนั้นๆ ได้อย่างสง่างาม
● ด้วยทางกลุ่ม Coffee Sci ได้ดำเนินงานในมิติของ ดิน ฟ้า กาแฟ และการเรียนรู้ในบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมร่วมกันปีนี้เป็นปีที่ 5 แล้ว โดยได้มีการทำงานเชิงพื้นที่ใน แหล่งปลูกกาแฟบ้านแม่จันหลวง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ทำให้ได้พบเห็นวิถีการทำงานและปัญหา ตลอดจนความต้องการในการพัฒนาในเชิงพื้นที่ของเกษตรกร
● วันที่ 25-26 ธันวาคม 2566 ได้รับเชิญให้มาเป็นวิทยากรร่วมให้ความรู้ภาคสนามและติดตามผลผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟบ้านแม่จันหลวง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ภายใต้โครงการวิจัย : นวัตกรรมฐานข้อมูลดินและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโดยใช้แบบจำลองพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลขและระบบวิทยาการข้อมูลเพื่อบริหารจัดการวางแผนทางด้านการเกษตร (ปี2) พืชกาแฟ
● ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในมิติต่างๆ ของสถานการณ์ในการผลิตกาแฟปี 2566-2567 ของพี่ๆเกษตรกร ตลอดจนได้มีข้อซักถามดีๆ ข้อเสนอแนะดีๆ ในกลุ่มพี่เกษตรกรที่สามารถนำมาเป็นตัวอย่างที่ดี ในการนำไปขยายผลสำหรับการจัดการในแปลงปลูกกาแฟปีต่อๆ ได้
● "หยิบดี" คอลัมที่ผมตั้งใจนำเรื่องราวดีๆ ที่ควรถูกนำมาเล่า มาสื่อสารให้เป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคม ในวงกว้างยิ่งขึ้น ติดตามดูนะครับว่าผมจะ หยิบดีเรื่องราวไหนมาเล่าต่อไปนะครับ

หยิบดี | ตอน : "ความสุขที่ระดับ1,508 เมตรจากระดับน้ำทะเล


 หยิบดี | ตอน : "ความสุขที่ระดับ1,508 เมตรจากระดับน้ำทะเล

"เพราะ"บทกวี" ไม่ได้เป็นสิ่งเพ้อฝัน แต่คือถ้อยคำที่ช่วยเยียวยาความขมของโลกแห่งความจริง เช่นเดียวกับกาแฟที่ไม่ได้มีดีแค่คาเฟอีน หากแต่มันมีมิตร ภาพที่มากมาย ช่วงเวลาที่ผ่านมา กาแฟได้นำพาให้ผมมาพบเจอมิตรภาพหลากหลาย และยิ่งนานวันมันยิ่งมีความผูกพันธ์กันมากขึ้น เหมือนหนึ่งในสมาชิกครอบครัวกัน

• กาแฟนำพาให้ผมมาพบเจอพี่ๆ ทุกแหล่งปลูก พบเจอรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ความอบอุ่น ความห่วงใย มิตรภาพ พี่ๆหลายๆคน เคยถามผมว่าอาจารย์ทำงานอยู่ที่ในห้องแอร์สอนหนังสือสบายๆ แล้วออกมาขึ้นดอย ลงห้วย ไต่เขา ให้เหนื่อยทำไม คำตอบของผมที่ให้พี่ๆ คือ "รอยยิ้ม" ผมบอกกับพี่ๆ ว่าถ้าผมอยู่แต่เพียงในห้องสี่เหลี่ยมก็คงไม่พบเจอสิ่งดีๆเหล่านี้เป็นแน่ครับ

• โลกใบนี้ยังมีอะไรให้ทำอีกมากมาย ร้อยอย่าง พันอย่าง แสนอย่าง อย่ารอให้เวลาหมุนไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้ทำอะไรเลย มันจะเป็นอะไรที่เสียดายมากนะครับ

• ด้วยทางกลุ่ม Coffee Sci ได้ดำเนินงานในมิติของ ดิน ฟ้า กาแฟ และการเรียนรู้ในบริบทของการเปลี่ยน แปลงทางสังคมร่วมกัน โดยได้มีการทำงานเชิงพื้นที่ใน 9 แหล่งปลูกกาแฟในภาคเหนือ ทำให้ได้พบเห็นวิถีการทำงานและปัญหา ตลอดจนความต้องการในการพัฒนาในเชิงพื้นที่ของเกษตรกร

• จากความตั้งใจและอยากเห็นทุกคนในชุมชนมีการเรียนรู้และพร้อมร่วมกันพัฒนาผลผลิตของตนเองให้มีคุณภาพยิ่งๆ ขึ้น เพราะกาแฟไทยเรายังไปได้อีกไกล

หยิบดี | "นำวิทยาศาสตร์อย่างง่ายสู่ชุมชน"





 หยิบดี | "นำวิทยาศาสตร์อย่างง่ายสู่ชุมชน"

"ดิน ฟ้า กาแฟ"ยังเป็นมิติที่ทีมงาน Coffee sci เรายังให้ความสนใจและยังมุ่งมั่นในการร่วมช่วยปัญหาในเชิงพื้นที่ เมื่อสภาพอากาศแปร ปรวน ดังนั้นการนำวิทยาศาสตร์อย่างง่ายสู่ชุมชนในฉบับของทีมเราจึงนำมาขยายผลและลงพื้นที่ทำงานร่วมกับพี่ๆ เกษตรผู้ปลูกกาแฟบ้านแม่จันหลวง
● ได้รับเชิญให้มาเป็นวิทยากรร่วมให้ความรู้ภาคสนามและติดตามผลผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟบ้านแม่จันหลวง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ภายใต้โครงการวิจัย : นวัตกรรมฐานข้อมูลดินและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโดยใช้แบบจำลองพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลขและระบบวิทยาการข้อมูลเพื่อบริหารจัดการวางแผนทางด้านการเกษตร (ปี2) พืชกาแฟ
● "หยิบดี" คอลัมที่ผมตั้งใจนำเรื่องราวดีๆ ที่ควรถูกนำมาเล่า มาสื่อสารให้เป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคม ในวงกว้างยิ่งขึ้น ติดตามดูนะครับว่าผมจะ หยิบดีเรื่องราวไหนมาเล่าต่อไปนะครับ

หยิบดี | "ลุกขึ้นมาทำ" เติมเต็มโลกกาแฟ


หยิบดี | "ลุกขึ้นมาทำ" เติมเต็มโลกกาแฟ

ขอนำสิ่งดีๆ ฉบับย่อยง่ายมาเล่าสู่กันอีกสักหนึ่งตอน ซึ่งเป็นทริปแห่งการเดินทางท้ายสุดของปี 2023 ของเหล่าสมาชิกทีม Coffee Sci เนื้อหาได้พูดเกี่ยวกับกระแสของการบริโภคกาแฟอราบิก้า ของประเทศไทยเอาไว้ได้เข้าใจง่ายๆ แบบตรงไปตรงมา ผ่านมุมมองของคนเดินทางลงพื้นที่พบพี่ๆ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟมาตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ดังนี้
● การพัฒนาคุณภาพกาแฟด้วยกระบวนการผลิตที่พิถีพิถัน จึงเป็นวิธีที่จะช่วยสร้างคุณค่าและมูลค่าของกาแฟไทย ที่สำคัญคือ เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพร้อมกับช่วยฟื้นฟูป่าต้นน้ำอันเป็นแหล่งปลูกกาแฟอราบิก้าไทย ก็เป็นอีกหนึ่งคุณค่าของกาแฟที่จะช่วยให้เกิดมูลค่ามากขึ้น นั้นจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่บรรดาคนในวงการกาแฟต้องร่วมมือกันขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนากาแฟให้มีคุณภาพ และสร้างความแตกต่างด้วยเอกลักษณ์ของแต่ละแหล่งปลูก
● ความนิยมด้านการบริโภคกาแฟของคนไทยเปลี่ยนจากโอเลี้ยงหรือโอยั๊วะเป็นกาแฟคั่วบดรสชาติหวานมัน จากนั้นวัฒนธรรมของสภากาแฟไทยก็ก้าวเข้าสู่ยุคของ "กาแฟคุณภาพพิเศษ" (Specialty Coffee) มากขึ้นตามความนิยมของตลาดกาแฟโลก ที่ได้ส่งผ่านความรู้เกี่ยวกับกาแฟซึ่งน่าค้นหาจนทำให้เกิดความหลงไหล
● กาแฟอราบิก้าในประเทศไทยได้รับการส่งเสริมให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงปลูก เกิดการพัฒนาสายพันธุ์เรื่อยมาเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและพื้นที่ของประเทศไทย จนผ่านไปเนิ่นนานหลายปี กาแฟบางพื้นที่ไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างต่อเนื่องอาจจะด้วยหลายเหตุปัจจัย จนมีบางพื้นที่ต้นกาแฟถูกละเลยทิ้งขว้าง ไม่ได้รับการใส่ใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายมาก
● แต่เพราะทีม Coffee Sci เราเชื่อว่ากาแฟไทยยังดีได้กว่านี้อีก เราจึง "ลุกขึ้นมาทำ" ร่วมกันทำใน มิติ ดิน ฟ้า กาแฟ พร้อมๆ กับร่วมมองไปข้างหน้าถึงมิติการพัฒนาในด้านอื่นๆ กับพี่ๆ เกษตรกรบ้านแม่จันหลวงที่มีการปลูกกาแฟในระบบสวนผสมผสาน มีเชอรี่ ลูกท้อ และพลับ แม่จันหลวงเป็นหมู่บ้านที่ถือว่ามีความสวยงามของธรรมชาติ และที่ขาดไม่ได้เลยคือความโดดเด่นในการเป็นไร่ชาที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ และมีชื่อเสียงมากระดับโลก
● "หยิบดี" คอลัมที่ผมตั้งใจนำเรื่องราวดีๆ ที่ควรถูกนำมาเล่า มาสื่อสารให้เป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคม ในวงกว้างยิ่งขึ้น ติดตามดูนะครับว่าผมจะ หยิบดีเรื่องราวไหนมาเล่าต่อไปนะครับ
รูปโดย Cr : マノーチャイ バピット

วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2566

หยิบดี | ใกล้เข้าสู่ฤดูการเก็บเกี่ยวกาแฟ


 หยิบดี | ใกล้เข้าสู่ฤดูการเก็บเกี่ยวกาแฟ

กาแฟจะออกดอกหลังจากผ่านสภาวะความแห้งแล้งและผ่านความชุ่มชื้นจากฝนหรือการให้น้ำแล้ว หลังจากปลูกไปแล้วประมาณปีที่ 3 จากนั้นจะพัฒนากลายเป็นผลจนสุกสีแดง และช่วงนี้ใกล้จะเข้าสู่ช่วงฤดูของการเก็บเกี่ยวเชอรี่กาแฟกันแล้ว ผมจึงนำข้อมูลดีๆ ฉบับย่อยง่ายๆ เกี่ยวกับวิธีการเก็บเกี่ยวมาเล่าสู่กันดังนี้นะครับ

#วิธีการเก็บเกี่ยว
● ควรเก็บเฉพาะผลผลิตที่สุกสีแดงเท่านั้น ผล ผลิตในหนึ่งช่อจะสุกไม่พร้อมกัน ผลกาแฟที่แก่แต่ไม่สุก เมื่อนำไปแปรรูปจะทำให้กาแฟที่ได้มีคุณภาพที่ไม่ดี

● ใช้วัสดุที่เป็นแผ่น เช่น ตาข่ายตาถี่ปูใต้โคนต้นแล้วเก็บเฉพาะผลที่สุก ถ้าร่วงหล่นลงมาบนตาข่ายแล้ว สามารถรวบรวมผลผลิตของแต่ละต้นนำไปคัดแยกคุณภาพ

● ไม่ควรเก็บผลกาแฟโดยใช้วิธีรูดทั้งกิ่ง เพราะจะทำให้ได้สารกาแฟคุณภาพต่ำ
นำผลกาแฟที่เก็บเกี่ยวแล้วมาคัดแยกคุณภาพ ผลกาแฟที่แก่จัดเกินไปซึ่งมีสีแดงเข้ม หรือผลที่แห้งคาต้นผลที่ร่วง หรือหล่นตามพื้น ควรถูกคัดแยกออกจากกัน

● บางสายพันธุ์ผลสุกจะเป็นสีเหลือง เพราะฉะนั้น ควรศึกษาข้อมูลสายพันธุ์กาแฟที่เลือกเก็บให้ดีเสียก่อน

● การทดสอบผลสุกพร้อมที่จะเก็บเกี่ยว สามารถทำได้โดยการเก็บผลกาแฟแล้วใช้นิ้วบีบผล หากผลสุกเปลือกจะแตกง่ายและเมล็ดกาแฟจะโผล่ออกมาจากเปลือก

● การเก็บผลควรจะพิจารณาการสุกของผลของแต่ละกิ่งที่ให้ผลในแต่ละต้นว่ามีผลสุกมากกว่าร้อยละ 50 สำหรับการเก็บผลผลิตครั้งแรก ซึ่งปกติการเก็บผลกาแฟจะต้องใช้เวลาเก็บประมาณ 2 ถึง 4 ครั้งต่อฤดูกาล

● หยิบดี" คอลัมที่ผมตั้งใจนำเรื่องราวดีๆ ที่ควรถูกนำมาเล่า มาสื่อสารให้เป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคม ในวงกว้างยิ่งขึ้น ติดตามดูนะครับว่าผมจะ หยิบดีเรื่องราวไหนมาเล่าต่อไปนะครับ

#ที่มาข้อมูล : บทความ"การเก็บเกี่ยวและการแปรรูปกาแฟ" M-Group: Article Article: ศูนย์รวมบทความ สาระน่ารู้ ข่าวสาร เกี่ยวกับการเกษตร และเรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ https://www.m-group.in.th

วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2566

หยิบดี | เหตุผล 3 ข้อว่าทำไมการเดินทางจึงเป็นการศึกษาที่ดีที่สุด


หยิบดี | เหตุผล 3 ข้อว่าทำไมการเดินทางจึงเป็นการศึกษาที่ดีที่สุด ซึ่งการได้ออกจากห้องสี่เหลี่ยมแล้วเดินทางไปในโลกกว้างจะเป็น การตัดสินใจที่ดีที่สุดของคุณ และนี่คือ 3 เหตุผลว่าทำไมต้องมีการเดินทางไปในพื้นที่ตนเองอยากจะไปสักครั้งในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต

1. การเดินทางคือการเรียนรู้
การเดินทางเป็นมากกว่าโอกาสที่จะทำให้การเรียนเป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจเท่านั้น เพราะการได้ท่องไปในโลกกว้างจะช่วยให้คุณเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเองมากขึ้น สามารถสร้างตัวตนที่เข้มแข็งและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น บ่อยครั้งที่ประสบการณ์การเดินทางทำให้คุณได้พบคำตอบสำหรับคำถามเก่าๆ ที่ว่า ‘คุณเป็นใคร?’ และ ‘คุณอยากทำอะไรกับชีวิตของคุณ?’ และช่วยให้คุณได้วางแผนสร้างสรรค์อนาคตในแบบที่ใช่สำหรับคุณ
2. การเดินทางคืออิสระ
การเดินทางคือประสบการณ์ในโลกแห่งความจริง เป็นการเรียนรู้ที่จะโบยบินออกจากรังและดูแลตัวคุณเอง ช่วยให้คุณเกิดความเข้าใจว่า คุณสามารถแก้ปัญหาและมีชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเอง และเรียนรู้ที่จะเชื่อว่าคุณพร้อมสำหรับทุกสิ่งที่จะถาโถมเข้ามาในชีวิตของคุณ คุณแข็งแกร่ง และคุณรับมือได้ทุกอย่าง
3. การเดินทางคือความรู้สึก
ณ จุดหนึ่งในการเดินทางของคุณ คุณจะได้รู้สึกตื่นเต้น กังวล เบิกบาน คิดถึงบ้าน และสุขใจ การเดินทางอาจเป็นเหมือนรถไฟเหาะทางอารมณ์ที่พาคุณพุ่งทะยานขึ้นสูงลิ่วและดำดิ่งลงเบื้องล่างได้อย่างน่าทึ่ง แต่เมื่อคุณได้สัมผัสกับการเดินทางและรู้สึกถึงความน่าอัศจรรย์ หัวใจและวิญญาณของคุณจะเรียกร้องหาสิ่งนี้อีกโดยไม่รู้จบ