วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วลีกินใจ..Bodyslam

Bodyslam








>> วลีกินใจจาก ตูน นักร้องนำวง Bodyslam ก่อนเพลง คนมีตังค์.........
"จะเครียดไปทำไมเยอะแยะครับผม สุดท้ายตื่นนอนขึ้นมา ล้างหน้า ล้างตา แปรงฟัน อาบน้ำ ให้เรียบร้อยครับผม พร้อมที่จะสู้กับวันใหม่ ร้อมที่จะเจอกับคนที่ไม่ชอบครับผม"
ฟังเพลง:
http://www.youtube.com/watch?v=l6QQG9Un6lo&feature=search

เนื้อเพลง: คนมีตังค์
อัลบั้ม: Save My Life
มีสตางค์นี่นะช่างดีเหลือเกิน มีสตางค์จะทำอะไรก็เพลินจะตาย
ไม่ต้องดิ้นต้องรนจะนกจะไม้ จะเอาอะไรก็ชี้
มีสตางค์ก็คงจะดีนะเออ เพียงแต่คนอย่างเรานะมันไม่ค่อยจะมี
พยายามประคับประคองสุดท้ายก็ได้เท่านี้
แต่ฉันไม่เดือดร้อน แม้ไม่มีมากมายอย่างใครสักที
แม้มีเท่านี้ แต่หัวใจมันก็ยินดี ทุกวัน
ชีวิตนี้บางทีก็น้อย คิดไปทำไม
ชีวิตนี้บางวันก็เยอะ ถือเป็นกำไร
ชีวิตเราก็เท่านี้ ความสุขที่หัวใจต้องการ
สุดท้ายมันอยู่ไม่ไกล
ค้นลงไปข้างในจิตใจ ใครๆก็พบมัน
แต่ฉันไม่เดือดร้อน แม้ไม่มีมากมายอย่างใครสักที
แม้มีเท่านี้ แต่หัวใจมันก็ยินดี ทุกวัน
มันก็เป็นอย่างเดิม(งดงาม) ฟ้าก็เป็นอย่างเคย(สีคราม)
แม้ว่าในจิตใจ(ทุกคืนทุกวันที่มี)
แม้ไม่มีอย่างใคร(ไม่มี) แล้วจะเป็นอย่างไร
(รับไหว ทุกสิ่งทุกอย่างมันแค่นี้เอง)
มันก็เป็นอย่างเดิม(งดงาม) ฟ้าก็เป็นอย่างเคย(สีคราม)
แม้ว่าในจิตใจ(ทุกคืนทุกวันที่มี)
แม้ไม่มีอย่างใคร(ไม่มี) แล้วจะเป็นอย่างไร
(รับไหว ทุกสิ่งทุกอย่างมันแค่นี้เอง)
แค่คิดดีทำดีก็พอ...

"ลองหยุดนิ่งๆ ดูความเคลื่อนไหวรอบตัวเราเองแล้วคุณจะพบอะไรต่อมิอะไร..หลายๆอย่างครับ"

แหล่งที่มา: www.siamzone.com , www.genie-records.com
วิสูตร อาสนวิจิตร iamvisut@gmail.com

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

คำคมจาก...ขงเบ้ง

ถ้าคุณคิดจะเป็นใหญ่..คุณก็จะได้เป็นใหญ่..
ถ้าคุณคิดอยากเป็นอะไร..คุณก็จะได้เป็นสิ่งนั้น..
เพราะแสวงหา มิใช่เพราะรอคอย
เพราะเชี่ยวชาญ มิใช่เพราะโอกาส
เพราะสามารถ มิใช่เพราะโชคช่วย
ดังนี้แล้ว "ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน"


นกทำรังให้ดูไม้ ข้าเลือกนายให้ดูน้ำใจ..
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด

ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด

ผู้ที่มีเกียรติ คือ ผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น



ถ้าสติไม่มา ปัญญาก็ไม่มี..
ไม้คดใช้ทำขอ เหล็กงอใช้ทำเคียว
แต่คนคดเคี้ยวใช้ทำอะไรไม่ได้เลย
เล่นหมากรุก อย่าเอาแต่บุกอย่างเดียว
เดินหมากรุกยังต้องคิด เดินหมากชีวิต จะไม่คิดได้อย่างไร
เมื่อใครสักคนหนึ่งทำผิด ท่านอย่าเพิ่งตำหนิหรือต่อว่าเขา
เพราะถ้าท่านเป็นเขาและตกอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นเดียวกับเขา
ท่านอาจจะตัดสินใจทำเช่นเดียวกับเขาก็ได้


คิดทำการใหญ่ อย่าสนใจเรื่องเล็กน้อย..
ตาสามารถมองเห็นสิ่งที่ไกลได้แต่ไม่สามารถมองเห็นคิ้วของตน
คนส่วนใหญ่ใส่ใจกับผลได้ระยะสั้นเท่านั้น
แต่คนฉลาดอย่างแท้จริงจะมองไปยังอนาคต...





ข้อความ; คัดบางส่วนมาจากผู้ไม่ระบุเจ้าของ ดังนั้นจึงขอขอบคุณเจ้าของตัวจริงครับ


วิสูตร อาสนวิจิตร
iamvisut@gmail.com

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ชีวประวัติท่าน ติช นัท ฮันห์



ติช นัท ฮันห์ กำเนิดในปี พ.ศ. 2469 ที่จังหวัดกวงสี ในตอนกลางของประเทศเวียดนาม ท่านมีชื่อเดิมว่า เหงียน ซวน เบ๋า ( Nguyen Xuan Bao) "ติช นัท ฮันห์" เป็นฉายา เมื่อท่านได้รับ การอุปสมบทแล้ว คำว่า "ติช" ในเวียดนามใช้เรียกพระ มีความหมายว่าเป็นผู้สืบทอดพุทธศาสนา ส่วน "นัท ฮันห์" เป็นนามทางธรรมของท่าน มีความหมายว่า "การกระทำเพียงหนึ่ง" (One Action) หมู่ศิษย์ในทางตะวันตก เรียกท่านว่า "Thay" (ไถ่) ซึ่งในภาษาเวียดนามมีความหมายว่า "ท่านอาจารย์"

ในปี พ.ศ. 2485 เมื่ออายุได้ 16 ปี ท่านได้บรรพชา เป็นสามเณรที่วัดตื่อฮิ้ว (Tu Hieu) วิถีชีวิต ในวัดเซนแห่งนี้ เป็นรากฐานอันสำคัญ ต่อชีวิตนักบวชของท่าน สามเณรต้องเรียนรู้ การมีชีวิตอยู่ ในปัจจุบันขณะ ในทุกการกระทำ อาจารย์ได้มอบหนังสือเล่มเล็กๆ กำชับให้ศึกษาหนังสือนั้น จนกว่าจะเข้าใจ "การนำสารัตถะแห่งพระวินัย มาประยุกต์ ใช้ในชีวิตประจำวัน" เป็นตอนแรกของคู่มือเล่มเล็กนั้น กล่าวถึงอากัปกิริยาของพระฝึกหัด จะต้องเกิดขึ้นพร้อมไปกับ สัมมาสติ หรือการกำหนดรู้ในปัจจุบัน

ปี พ.ศ. 2492 ติช นัท ฮันห์ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุ 23 ท่านได้เดินทางไปไซ่ง่อน เพื่อช่วยฟื้นฟูพุทธศาสนา และเขียนบทความ ซึ่งถูกต่อต้านอย่างมาก จากผู้นำองค์กรชาวพุทธ และจากรัฐบาล ในปี พ.ศ. 2505 เมื่อท่านได้รับการเสนอทุนจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน เพื่อ ศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ จึงเดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้น 1 ปี ท่านได้รับทุนจาก มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย แต่ท่านตัดสินใจเดินทางกลับเวียดนาม เพื่อกลับมาทำงานด้านความ ร่วมมือ ระหว่างพุทธมหายานและหินยานในประเทศ และตั้งรร.ยุวชนรับใช้สังคม เพื่อรักษาสังคม ที่เสียหายจากสงคราม สานต่อแนวคิดเรื่องพุทธศาสนาที่ผูกสัมพันธ์กับสังคม และพัฒนาวงการ สงฆ์ ด้วยการสอนและเขียน สถาบันพุทธศาสนาขั้นสูง เป็นการบ่งบอกถึงแนวคิดของท่านว่า การกระทำและปัญญา ต้องก้าวไปด้วยกัน (action and wisdom must go together) และจัดตั้ง คณะเทียบหิน ในปี 2509

ท่านตระหนักว่า ต้องมีการเปลี่ยนแปลง วิธีการการต่อสู้เพื่อสันติภาพ เพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือ หยุดการสนับสนุนสงครามและมุ่งเน้นสันติภาพ โดยปลุกจิตสำนึกต่อคนทั่วโลก จนกระทั่ง มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ( Martin Luther King, Jr.) เสนอนามท่านติช นัท ฮันห์ เพื่อรับรางวัล โนเบลเพื่อสันติภาพ การทำงานเช่นนี้ ทำให้รัฐบาลเวียดนามใต้ ปฏิเสธการกลับประเทศของท่าน จนแม้ รวมประเทศแล้วก็ตาม ท่านจึงลี้ภัยอย่างเป็นทางการในประเทศฝรั่งเศส โดยสอน ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาเวียดนาม ที่มหาวิทยาลัยและสร้างอาศรมแห่งหนึ่งนอกเมืองปารีส แลเพื่อเขียนหนังสือ และปลูกพืชผักสมุนไพร ซึ่งท่านติดต่อลับๆ กับพระภิกษุที่ถูกจำคุกในเวียดนาม เพราะไม่เห็นด้วย กับรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ระหว่างนั้นท่านยังคงทำงาน เพื่อสันติภาพและผู้ลี้ภัย จากประสบการณ์ ของท่าน ที่ได้พบเห็นชะตากรรมของผู้ลี้ภัยด้วยตนเอง จนสามารถช่วยเหลือ ผู้คนได้อีกมาก

ปี พ.ศ. 2525 เมื่อผู้มาปฏิบัติธรรมที่อาศรมของท่านทวีจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ท่านจึงเริ่ม ก่อตั้งชุมชนแห่งใหม่ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส ให้ชื่อว่า หมู่บ้านพลัม (Plum Village) ซึ่งถือเป็นบ้านของท่านจนทุกวันนี้ ช่วงแรกหมู่บ้านพลัมเป็นแหล่งพักพิงของผู้ลี้ภัย เพื่อปรับตัว ก่อนเข้าสู่สังคมใหม่ในประเทศใหม่ ปัจจุบันหมู่บ้านพลัมได้ต้อนรับผู้คนมากมาย ในการปฏิบัติ สมาธิภาวนา และได้เริ่มมีสมาชิก เป็นนักบวชตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ในปี พ.ศ. 2549 มีสมาชิก นักบวชกว่าห้าร้อยคน มาจากยี่สิบกว่าประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่อยู่ที่หมู่บ้านพลัมในฝรั่งเศส ที่ Green Mountain Dharma Center รัฐเวอร์มอนต์ และ Deer Park Monastery รัฐแคลิฟอร์เนีย ในสหรัฐอเมริกา และที่วัดบัทหงา เมืองบ๋าวหลอบ และ วัดตื่อฮิ้ว เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม

ในปี พ.ศ. 2548 เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองของเวียดนามเข้าสู่ภาวะปกติ ติช นัท ฮันห์ ได้เดินทางกลับไปเยือนประเทศเวียดนาม บ้านเกิดของท่านอย่างเป็นทางการ หลังการจากมา เป็นเวลา 39 ปี และได้รับการต้อนรับจากประชาชนชาวเวียดนามอย่างอบอุ่น

ปัจจุบันท่าน ติช นัท ฮันห์ ยังคงพำนักอยู่ที่หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส และยังเดินทาง ไปนำการภาวนาในประเทศต่างๆ ท่านเป็นชาวเวียดนาม ที่เป็นพระมหาเถระ ในพุทธศาสนา และมีอุดมการณ์แห่งพระโพธิสัตว์อันเป็นพระที่เลื่อมใส แห่งสากลโลก เป็นอย่างยิ่ง

อ้างอิงจาก ;http://www.thaiplumvillage.org/index.html

วิสูตร อาสนวิจิตร iamvisut@gmail.com

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นิทานเซ็น เรื่อง "ความเชื่อฟัง " เล่าโดยท่านพุทธทาสภิกขุ


นิทานเซ็น เล่าโดย..ท่านพุทธทาสภิกขุ เรื่อง "ความเชื่อฟัง"


นิทานเรื่องที่สี่ เรียกว่า เรื่อง "ความเชื่อฟัง" ธฺยานาจารย์ ชื่อ เบ็งกะอี เป็นผู้มีชื่อเสียง ในการเทศนาธรรม คนที่มาฟังท่านนั้น ไม่ใช่เฉพาะแต่ ในวงของ พวกนิกายเซ็น พวกนิกายอื่น หรือคนสังคมอื่น ก็มาฟังกัน ชนชั้นไหนๆ ก็ยังมาฟัง เพราะว่า ท่านไม่ได้เอา ถ้อยคำในพระคัมภีร์ หรือในหนังสือ หรือ ในพระไตรปิฎก มาพูด แต่ว่าคำพูด ทุกคำนั้น มันหลั่งไหล ออกมาจาก ความรู้สึกในใจ ของท่านเองแท้ๆ ผลมันจึงเกิดว่า คนฟังเข้าใจ หรือชอบใจ แห่กันมาฟัง จนทำให้ วัดอื่น ร่อยหรอ คนฟัง เป็นเหตุให้ ภิกษุรูปหนึ่ง ในนิกาย นิชิเรน โกรธมาก คิดจะทำลายล้าง อาจารย์เบ็กกะอี คนนี้อยู่เสมอ วันหนึ่ง ในขณะที่ท่านองค์นี้ กำลังแสดงธรรม อยู่ในที่ประชุม พระที่เห็นแก่ตัวจัด องค์นั้น ก็มาทีเดียว หยุดยืน อยู่หน้าศาลา แล้วตะโกนว่า เฮ้ย! อาจารย์เซ็น หยุด ประเดี๋ยวก่อน ฟังฉันก่อน ใครก็ตาม ที่เคารพท่าน ท่านจะทำอย่างไร ที่จะทำให้ฉัน เคารพเชื่อฟังท่านได้ เมื่อภิกษุอวดดี องค์นั้น ร้องท้า ไปตั้งแต่ ชายคาริมศาลา ท่านอาจารย์เบ็งกะอี ก็ว่า มาซี ขึ้นมานี่ มายืนข้างๆฉันซี แล้วฉันจะทำให้ดูว่า จะทำอย่างไร พระภิกษุนั้น ก็ก้าว พรวดพราด ขึ้นไป ด้วยความทะนงใจ ฝ่าฝูงคน เข้าไป ยืนหรา อยู่ข้างๆ ท่านอาจารย์เบ็งกะอี ท่านอาจารย์เบ็งกะอี ก็ว่า ยังไม่เหมาะ มายืนข้างซ้าย ดีกว่า พระองค์นั้น ก็ผลุนมาทีเดียว มาอยู่ข้างซ้าย ท่านอาจารย์เบ็งกะอี ก็บอกอีกว่า อ๋อ! ถ้าจะพูดให้ถนัด ต้องอย่างนี้ ต้องข้างขวา ข้างขวา พระองค์นั้น ก็ผลุนมาทางขวา พร้อมกับมีท่าทาง ผยองอย่างยิ่ง พร้อมที่จะท้าทาย อยู่เสมอ ท่านอาจารย์เบ็งกะอีจึงว่า เห็นไหมล่ะ ท่านกำลัง เชื่อฟังฉันอย่างยิ่ง และในฐานะ ที่ท่านเชื่อฟัง อย่างยิ่งแล้ว ฉะนั้น ท่านจงนั่งลง ฟังเทศน์เถิด นี่เรื่องก็จบลง

นิทานอิสปเรื่องนี้ มันสอนว่าอย่างไร เหมือนพระพุทธเจ้า ท่านตรัสว่า นิวาโต เอตมฺมงฺคลมุตตมํ วาโต ก็เหมือนกะ สูบลมอัดเบ่งจนพอง ถ้า นิวาโต ก็คือ ไม่พองไม่ผยอง เป็นมงคลอย่างยิ่ง ข้อนี้ ย่อมแสดงว่า มีวิชาความรู้ อย่างเดียว นั้นไม่พอ ยังต้องการ ไหวพริบ และ ปฏิภาณ อีกส่วนหนึ่ง พระองค์นี้ ก็เก่งกาจ ของ นิกายนิชิเรน ในญี่ปุ่น แต่มาพ่ายแพ้อาจารย์ ที่แทบจะไม่รู้หนังสือ เช่นนี้ ซึ่งพูดอะไร ก็ไม่อาศัยหนังสือ เพราะบางที ก็ไม่รู้หนังสือเลย แพ้อย่างสนิทสนม เพราะขาดอะไร ก็ลองคิดดู พวกฝรั่งก็ยังพูดว่า Be wise in time ฉลาดให้ทันเวลา โดยกระทันทัน ซึ่งบาลีก็มีว่า "ขโณ มา โว อุปจฺจคา" ขณะสำคัญ เพียงนิดหนึ่ง นิดเดียวเท่านั้น อย่าได้ผ่านไปเสียนะ ถ้าผ่านไป จะต้องมีอย่างยิ่ง มิฉะนั้น จะควบคุมเด็ก ไม่อยู่ เราลองคิดดูซิว่า เด็กๆของเรา มีปฏิภาณเท่าไร เราเองมี ปฏิภาณเท่าไร มันจะสู้กัน ได้ไหม ลองเทียบไอคิว ในเรื่องนี้ กันดู ซึ่งเกี่ยวกับ ปฏิภาณนี้ ถ้าครูบาอาจารย์เรา มีไอคิว ในปฏิภาณนี้ ๕ เท่าของเด็กๆ คือ เหนือเด็ก ห้าเท่าตัว ก็ควรจะได้รับเงินเดือน ห้าเท่าตัว ของที่ควรจะได้รับ หรือว่าใครอยากจะเอา สักกี่เท่า ก็เร่งเพิ่มมันขึ้น ให้มีปฏิภาณไหวพริบ จนสามารถ สอนเด็ก ให้เข้าใจ เรื่องกรรม เรื่องอนัตตา เรื่องนิพพาน ได้อย่างไรทีเดียว นี่คือ ข้อที่จะต้อง อาศัยปฏิภาณ ซึ่งวันหลัง ก็คงจะได้พูดกัน ถึงเรื่องนี้บ้าง.

อ้างอิงจาก ; http://www.buddhadasa.com/index.html

วิสูตร อาสนวิจิตร iamvisut@gmail.com