วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2565

หยิบดี |"Dripper อุปกรณ์สำคัญในกาแฟดริป"


 หยิบดี |"Dripper อุปกรณ์สำคัญในกาแฟดริป"

Dripper เป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำกาแฟดริปเป็นภาชนะที่มีรูระบายน้ำอยู่ตรงกลางใช้คู่กับกระดาษกรองวัสดุที่แตกต่างกัน เพราะวัสดุแต่ละแบบเองก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน ทั้งการนำความร้อน (Thermal Conductivity) และ การกักความร้อน (Heat Retention) ก็แตกต่างกันออกไป การเลือกวัสดุจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะส่งผลต่อรสชาติของกาแฟแก้วอร่อยของคุณ ดังนั้น ในคอลัมหยิบดีนี้จึงขอนำตัวอย่างของ Dripper 3 ชนิด มาเล่าสู่กันฟังดังนี้
■ คุณสมบัติของ Dripper 3 ชนิด [1]
1.Dripper เซรามิก จะมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี ไม่สะสมความร้อนและไม่นำพาความร้อนออกไป ทำให้อุณหภูมิของกาแฟและน้ำขณะดริปไม่ลดลงและมีความคงที่ของอุณหภูมิที่ดี กาแฟที่ได้จึงมีรสชาติที่กลมกล่อม
2.Dripper แก้วคุณภาพสูง จะมีประสิทธิ ภาพตรงทนความร้อนและขยายตัวได้ดี ช่วยควบคุมอุณหภูมิของน้ำไม่ให้ลดลงเร็วเกินไปขณะดริปกาแฟ นอกจากนั้นแล้ว คุณสมบัติเด่นอีกข้อก็คือ จะไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำกาแฟ
3.Dripper พลาสติก จะมีคุณสมบัติถ่ายเทความร้อนออกไปได้ค่อนข้างง่าย จึงถ่ายเทความร้อนภายในดริปเปอร์ให้กับอากาศ จนทำให้อุณหภูมิสมดุลของน้ำกับกาแฟลดลงเร็วกว่าวัสดุอื่นแต่ปัจจุบัน มีการผลิตดริปเปอร์จากพลาสติกโพลิโพรไพลีน ซึ่งเป็นฉนวนความร้อนที่ดีมาก จึงช่วยรักษาอุณหภูมิภายในดริปเปอร์ไม่ให้ลดลงเร็วเกินไป
■ จุดประสงค์หลักๆ คือ ป้องกันไม่ให้อุณหภูมิน้ำลดต่ำลงขณะดริป [1] เช่น ต้องการใช้อุณหภูมิน้ำที่ 90 องศาเซลเซียสกับกาแฟคั่วอ่อน ซึ่งปกติก็นิยมใช้เครื่องวัดอุณหภูมิที่ติดมากับกาน้ำเป็นตัววัดกัน เมื่อเทน้ำลงไปผสมรวมกับกาแฟบดที่อุณหภูมิห้อง ก็จะเกิดภาวะ "สมดุลความร้อน" (Thermal Equilibrium) ของน้ำกับกาแฟที่มีอุณหภูมิเท่ากัน โดยอาจจะลดลงเหลือ 83-85 องศาเซลเซียสก็ได้ เนื่องจากความร้อนกระจายออกไปในอากาศ
ดังนั้น “ดริปเปอร์” ที่ทำจากวัสดุซึ่งสามารถ "ควบคุม" อุณหภูมิของน้ำตามความต้องการระหว่างการสกัดกาแฟ ให้สมดุลความร้อนอยู่ในช่วงอุณหภูมิที่กำหนดไว้ชงกาแฟในแต่ละตัว จึงมักเป็นตัวเลือกในอันดับแรกๆ ที่ถูกนำไปใช้งาน
■ เพื่อนๆใช้ดริเปอร์แบบไหนกันอยู่สามารถแนะนำและนำมาแชร์สิ่งดีๆ กันได้นะครับ ไว้ติดตามหยิบดีในคอลัมต่อไปนะครับจะนำเรื่องราวๆ ดี ที่เข้าถึงได้ง่ายๆ มาเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อ สังคม ชุมชน ในวงกว้าง ต่อไปนะครับ
อ้างอิง
[1] ชาลี วาระดี, "แก้ว โลหะ เซรามิก หรือพลาสติก? อีกเทคนิคเลือก 'ดริปเปอร์' ",กรุงเทพธุรกิจ, 10 เม.ย. 2564.[Online]. Available: https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/931590

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2565

หยิบดี | "การป้องกันมอดในสวนกาแฟ"





 หยิบดี | "การป้องกันมอดในสวนกาแฟ"

■ จากบทความของ Sirichai,2019 [1] ได้เขียนถึงความเร็วในการแพร่กระจายของมอดสมมุติว่านำมอด 1 ตัวไปปล่อยไว้ในสวนกาแฟ สิ่งที่เกิดขึ้นคือมอดสามารถวางไข่ได้ประมาณ 60 -100 ใบต่อผลกาแฟ 1 ผล
•ดังนั้นสมมุติว่า มอด 1 ตัว สามารถผลิตมอดโตเต็มวัยได้ประมาณ 20 ตัว สมมุติว่าตั้งแต่วางไข่จนได้ตัวเต็มวัยใช้เวลาอยู่ที่ 30 วัน เมื่อเวลาผ่านไป 5 เดือน
• วิธีคำนวนง่ายๆ คือมอดสามารถเติบโตได้ด้วยอัตราเร่งแบบ Exponential คือ 20 ยกกำลัง 5 ดังนั้นมอด 1 ตัวเมื่อผ่านไป 5 เดือน จะมีมอดในสวนกาแฟทั้งหมด 3,200,000 ตัว (สามล้านสองแสนตัว)
• ถ้าคำนวนคร่าวๆ ว่ามอด 3.2 ล้านตัวโจมตีเมล็ดกาแฟแต่ละเมล็ด เท่ากับว่าเมล็ดกาแฟเสียหายกว่า 3.2 ล้านเมล็ดคิดเป็นน้ำหนักรวมทั้งหมดประมาณ 640 กิโลกรัม (เมล็ดสาร 1 เมล็ดหนัก 0.2 กรัม) หรือมูลค่ากว่า 102,400 บาท (ราคากาแฟสารกิโลละ 160 บาท)
■ จากงานวิจัย Mendesil et al., 2004 [2] พบว่ามอดจะโจมตีผลกาแฟอย่างหนักช่วงที่ผลกาแฟเริ่มสุก โดยเจาะเข้าทางฐานใต้ผลกาแฟ เนื่องจากกาแฟเป็นพืชที่ติดผลปีละครั้งมอดจำเป็นต้องมีที่อยู่ในช่วงที่ผลกาแฟยังไม่ติดผล และที่อยู่นั่นคือผลที่แห้งคาต้นหรือผลที่ร่วงอยู่บนพื้น
• Mendesil et al., 2004 [2] พบว่าจำนวนของมอดในผลกาแฟที่ค้างอยู่บนต้นมีจำนวนมากกว่าผลกาแฟที่ตกอยู่ที่พื้น แสดงว่ามอดชอบผลกาแฟที่แห้งคาต้นมากกว่าผลกาแฟที่ตกบนพื้นแต่ในกรณีที่ไม่มีผลกาแฟแห้งคาต้น ผลกาแฟที่หล่นบนพื้นก็เป็นหนึ่งแหล่งขยายพันธุ์ของมอด ดังนั้นการทำลายเมล็ดกาแฟที่ค้างคาต้น หรือตกหล่นน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้มอดแพร่กระจาย และป้องกันไม่ให้มอดข้ามจากฤดูกาลหนึ่งไปยังอีกฤดูกาลหนึ่ง
■ สรุป : มอดเป็นแมลงศัตรูพืชของกาแฟที่ใช้เวลากว่า 90% อาศัยอยู่ในผลกาแฟ ทำให้ไม่สามารถใช้วิธีใดวิธีหนึ่งในการกำจัดได้ แต่เป็นปัญหาที่ต้องแก้ด้วยความอดทนและใส่ใจวิธีป้องกันมอดที่ทางทีมงาน Coffeesci ได้หาข้อมูลมา จึงขอนำเสนอวิธีให้กับพี่ๆ น้องๆ เกษตรกรได้นำไปปรับใช้กัน ดังนี้นะครับ
1.ทำลายผลกาแฟที่มีมอดเจาะ
2.เก็บผลกาแฟที่แห้งคาต้น และตกหล่นมาใส่กระป๋องน้ำออกมาทำลายนอกพื้นที่สวน
3.กับดักสามารถใช้ลดการแพร่กระจาย และบ่งบอกถึงจำนวนของมอดในสวนได้
4.ป้องกันไม่ให้มอดหลุดเข้ามาที่สวน
5.การปลูกต้นไม้ จัดระบบนิเวศภายในสวนเพื่อให้เกิดการจัดการภายในสวนแบบธรรมชาติ เช่น นกมากิน หรือสัตว์ต่างๆ มากิน
■ อ้างอิงที่มาข้อมูล
[1] Sirichai, "วงจรชีวิตของมอดกาแฟ (Coffee Berry Borer)และวิธีป้องกันมอดในกาแฟ," JULY, 19, 2019.[Online]. Available:
[2] E.Mendesil, B.Jembere and E.Seyoum,"Population dynamics and distribution of the coffee berry borer, Hypothenemus hampei (Ferrari) (Coleoptera: Scolytidae) on Coffea arabica L. in Southwestern Ethiopia," SINET Ethiopian Journal of Science,vol.27,no.2, pp.127–134, 2004.

หยิบดี | "นำวิทยาศาสตร์อย่างง่ายมาสู่ชุมชน"


 หยิบดี | "นำวิทยาศาสตร์อย่างง่ายมาสู่ชุมชน"

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม 2565 เวลา 2 ทุ่ม (เชียงใหม่โมเดล LIVE สด) พบกับผศ.ดร วาสนา วิรุญรัตน์ หัวหน้าโครงการ "กิจกรรมที่ 4.2 การสร้างความมั่นคงด้านอาหารด้วยการปลูกผักสวนครัวแบบประหยัดน้ำเพื่อลดผล กระทบจากภัยแล้งและวิกฤตโควิค-19"

• โดยทางมอนิ่งฟาร์มของเราได้เข้าร่วมในโครงการนี้ด้วยครับ ซึ่งได้รับเลือกให้เป็นต้นแบบของชุมชนในการดำเนินงานตามแบบฉบับของการ "นำวิทยาศาสตร์อย่างง่ายมาสู่ชุมชน" เพื่อให้ความรู้ต่อคนในชุมชนทุกช่วงวัย ได้เข้าใจง่าย และนำไปลงมือทำ และต่อ
ยอดได้

• และได้ขยายผลกิจกรรมปลูกผักสวนครัวสร้างรายได้รายวัน สามารถทำได้ง่าย ใช้พื้นที่น้อย เกษตรกรที่ว่างจากงานสวนระหว่างรอผลผลิตก็สามารถปลูกผักสวนครัวเพื่อไว้กินในครัวเรือน สร้างสุขภาพที่ดีห่างไกลจากสารเคมี