วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

รองเท้าตราปูกับคัตชูของเธอ

ช้าวันอาทิตย์วันหยุดสุดสัปดาห์หลังจากการวุ่นวายในการร่ำเรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์ ผมนั่งอ่านหนังสือพิมพ์ที่หน้าบ้านแล้วก็แอบได้ยินบทสนทนา ระหว่างหัวแม่ตีนกับรองเท้าตราปูของผมมันพูดกัน
  • รองเท้าตราปู : นี้หัวแม่ตีน นายว่าผู้หญิงน่ะจะมองผู้ชายตรงไหนว่ะ
    หัวแม่ตีน : เออ … มันก็แล้วแต่ว่ะ
    รองเท้าตราปู : มึงหมายความว่าอย่างไรว่ะ แล้วแต่ของมึงน่ะ
    หัวแม่ตีน : แล้วแต่หญิงสิว่ะว่าเขาจะมองตรงไหน มองหน้ามึง
    มองแขนมึง มองตัวมึง ก็แล้วแต่เขาไง.
    รองเท้าตราปู : เดี๋ยวกูก็กัดมึงหรอก กูหมายความว่า มองแบบชอบนะ
    หรือ ปิ้งๆ อะไรประมาณนี้มึงเข้าใจไหม ??????
    หัวแม่ตีน : เออ … มึงก็พูดให้มันรู้เรื่องสิว่ะ กูว่าผู้หญิงนะ
    มองผู้ชายด้วยหน้าตาว่ะ หรือไม่ก็ลักษณะการแต่งตัว
    รองเท้าตราปู : แล้วอย่างกูนี้ผู้หญิงจะมองไหมว่ะ
    หัวแม่ตีน : นั้นแน่ มึงแอบชอบสาวอยู่ละสิ???
    รองเท้าตราปู : เออ ว่ะกูชอบน้องคัตชูที่อยู่ตรงข้ามหน้าบ้านเราว่ะ
    โคตรสวยเลยมึง
    หัวแม่ตีน : มึงเอ๊ย นั้นเขาไฮโซจะตายเขาจะมองมึงเหรอว่ะ
    ขนาดเดินผ่านเขายังไม่มองมึงเลย
    รองเท้าตราปู : แล้วกูจะได้คุยกับน้องคัตชูบ้างหรือเปล่าว่ะ
    กูจะได้ไปกินข้าวกับน้องคัตชูหรือเปล่าว่ะ
    กูจะได้ไปดูหนังกับน้องคัตชูหรือเปล่าว่ะ ??????????
    หัวแม่ตีน : มึงอยากใกล้ชิดกับน้องคัตชูมึงต้องรอเจ้านายเราไปจีบ
    พี่สาวตรงข้ามบ้านให้ได้ก่อนสิว่ะ…..แฮ่ แฮ่ แฮ่ …
โดย : อ.วิสูตร อาสนวิจิตร วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มทร.ล้านนา 128 ถ.ห้วยแก้ว ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 โทรศัพย์:053-921444 ต่อ 1012 Email: visut@rmutl.ac.th website : https://sites.google.com/site/iamvisut/

วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553

"ภิกษุสันดานกา"

อ้างอิงจาก http://bbznet.pukpik.com/scripts2/view.php?user=smhos2&board=3&id=307&c=1&order=numtopic

"ภิกษุสันดานกา" ผลงานนายอนุพงษ์ จันทร ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 เหรียญทองประเภทจิตรกรรม จากการประกวดผลงานศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 53 ประจำปี 2550

ผศ.เสถียร วิพรมหา เลขาธิการเครือข่ายภาคประชาชนพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ กล่าวว่า ภาพดังกล่าวไม่เหมาะสมหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์ทั้ง 2 รูป เอาหัวชนกัน หลับตา มีปากแหลมเหมือนปากของอีกา แสดงกิริยาแย่งด้ายสายสิญจน์และตะกรุดในบาตร สักยันต์ รูปกบอยู่ในท่าผสมพันธุ์ ส่วนร่างกายของพระด้านขวา มีภาพตุ๊กแกอยู่ในท่ากำลังผสมพันธุ์ด้วย ในย่ามพระมีลูกกรอกแสดงถึงความเป็นเพศชายและเพศหญิง โดยผู้หญิงกำลังทำท่าผสมพันธุ์อยู่ ซึ่งคณะสงฆ์ได้ศึกษาพระไตรปิฎกเกี่ยวกับภิกษุสันดานกา ไม่ได้กล่าวถึงการมีเพศสัมพันธ์ขนาดนี้ พิจารณาแล้วเห็นว่า มีผลกระทบต่อพระพุทธศาสนาโดยตรง เป็นการดูหมิ่นและเหยียดหยามพระสงฆ์ไทยโดยภาพรวม สื่อให้เห็นว่า พระสงฆ์มีพฤติกรรมเป็นเหมือนในภาพ สอนสังคมเกิดความลุ่มหลงต่อไสยศาสตร์แบบหลับหูหลับตาโดยไม่ใช้ปัญญา เป็นภาพไม่สร้างสรรค์

ศ.ดร.สุพรรณี กล่าวว่าเท่าที่ทราบ ศิลปินไม่ได้มีเจตนาลบหลู่ทางศาสนา แต่วาดตามสิ่งที่ได้อ่านในพระไตรปิฎก และหนังสือเล่มอื่นๆ ขอย้ำว่า ม.ศิลปากรไม่ได้นิ่งนอนใจ จะหารือคณะกรรมการศิลปกรรมแห่งชาติว่า จะยุติการนำเสนอภาพในงานนิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้ง 53 หรือไม่ และจะชี้แจงให้ทราบภายหลัง หลังจากที่ ศ.ดร.สุพรรณี ออกมารับหนังสือแล้ว ผู้ชุมนุมได้เดินทางกลับ

ทัศนคติผู้เรียบเรียง : หากแต่ด้านหนึ่งของวงการศาสนาคงจะเลี่ยงสำหรับการตอบคำถามไม่ได้ว่า มีภิกษุที่มีพฤติกรรมที่ได้สื่อออกมาดังภาพวาดรูปนี้จริง หาใช่การลบหลู่ไม่ แต่กลับเป็นการสะท้อนมุมมองของศาสนาได้อย่างชัดเจนโดยรูปได้สื่อให้เห็นถึง วิถีการดำรงอยู่ของมนุษย์ในสถานะหนึ่งที่ยังลุ่มหลงมัวเมาในสิ่งอันเป็นกิเลส และผู้วาดเลือกใช้สีส้มเป็นตัวแทนแห่งไอกิเลสได้อย่างลงตัว ผู้เรียบเรียงได้มีโอกาสอ่านหนังสือธรรมะเล่มหนึ่งที่ "หลวงปู่ขาวได้เทศนาให้ลูกศิษย์ว่า หากเก็บกิเลสในห้องก็ล้นออกมา เก็บใส่บ้านก็ล้นออกมา เก็บใส่หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศ ทวีป และโลก กิเลสก็ล้นออกมาอยู่ดี " ดังนั้รูปภาพนี้ก็ไม่ได้ต่างอะไรกับการสะท้อนกิเลสแค่จุดนิดเดียวเท่านั้นเองให้แก่ ประชาชนได้ทราบเท่านั้นเองครับ ....... ขอขอบคุณสำหรับผลงานดีชิ้นนี้ครับ.

เรียบเรียงโดย : อ.วิสูตร อาสนวิจิตร วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มทร.ล้านนา 128 ถ.ห้วยแก้ว ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 โทรศัพย์:053-921444 ต่อ 1012 Email: visut@rmutl.ac.th website : https://sites.google.com/site/iamvisut/

วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2553

การพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบ


การพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบโดยการเรียนรู้แบบใช้โครงงานทางวิศวกรรมเป็นฐาน
Development of a System Thinking Process by Engineering Project-Based Learning

นายวิสูตร อาสนวิจิตร1 นายจัตตุฤทธิ์ ทองปรอน2 ทีมงานวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ3
1วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จ.เชียงใหม่ 50300
128 ถ.ห้วยแก้ว ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 โทรศัพท์ : 0-5392-1444 ต่อ 1012 E-mail:
visut@rmutl.ac.th
2หลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จ.เชียงใหม่ 50300128 ถ.ห้วยแก้ว ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 โทรศัพท์ : 0-5392-1444 ต่อ 2120 E-mail:
jutturit@gmail.com
บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้จะนำเสนอการพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบของผู้เรียน โดยใช้ทฤษฎีการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน PBL (Problem based learning) ในวิชาโครงงานทางวิศวกรรมซึ่งเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ของครูผู้สอน ในหลักสูตรเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา คุณลักษณะที่คาดหวังจากผู้เรียน ได้แก่ ผู้เรียนให้ความร่วมมือกับกลุ่ม มีเหตุผล วิเคราะห์โจทย์ปัญหาได้ เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาได้ วางแผนงานได้ ภูมิใจในผลงานของตนเอง และคิดเป็นระบบ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยนี้ คือ นักศึกษาที่เรียนในวิชาโครงงานเตรียมวิศวกรรม ระดับ ปวช.1 หลักสูตรเตรียมวิศวกรรมศาตร์ ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 34 คน โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้ชี้แนวทางในการค้นคว้า ผลการประเมินนักศึกษาพบว่าพัฒนาการทางด้านความคิด และทักษะในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวนักศึกษามีแนวโน้มดีขึ้น โดยผู้เรียนผ่านเกณฑ์การประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์ คิดเป็นร้อยละ 85.88 ทักษะการแก้ไขปัญหา คิดเป็นร้อยละ 89.41 และการทำงานเป็นกลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 96.47 ซึ่งผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่ากลไกในการพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบ โดยใช้แนวทางของทฤษฏีการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานซึ่งใช้โครงงานเตรียมวิศวกรรมเป็นเครื่องมือสามารถใช้ร่วมกันได้ และเกิดคุณลักษณะที่คาดหวังจากกระบวนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

การประชุมเครือข่ายวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้า มทร.ล้านนา ครั้งที่2
วันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ 2553

คำสำคัญ การเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน, โครงงานทางวิศวกรรม, การคิดเชิงระบบ, การเรียนรู้
เขียนโดย :อ.วิสูตร อาสนวิจิตร วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 128 ถ.ห้วยแก้ว ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 โทรศัพท์ : 0-5392-1444 ต่อ 1012 E-mail: visut@rmutl.ac.th

โรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์

Science-Based Technology School: SBTS

กระทรวงศึกษาธิการ โดย สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้ร่วมกันจัดทำโครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์นำร่อง โดยมีวิทยาลัยการอาชีพพานทอง จ.ชลบุรี (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี)) เป็นสถานศึกษานำร่องแห่งแรก ในหลักสูตรสาขาช่างอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์ และโครงการนำร่องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา ต่อมา สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ได้จัดทำ “โครงการจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์” ภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 (พ.ศ.2553-2555) เพื่อขยายผลโครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์นำร่องไปยังสถานศึกษาอื่นในสังกัด สอศ. อีก 4 แห่ง ใน 4 สาขาวิชา ดังนี้
  • วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี จ.นครราชสีมา สาขาอุตสาหกรรม
  • วิทยาลัยเทคนิคพังงา จ.พังงา สาขาบริหารธุรกิจและพาณิชยกรรม
  • วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน จ.ลำพูน สาขาเกษตรกรรม
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี จ.สิงห์บุรี สาขาคหกรรมธุรกิจ

โดยหลักสูตรของโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์นำร่องจะเป็นหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยนำสาระและทักษะพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และทักษะพื้นฐานด้านวิชาชีพมาบูรณาการเป็นโครงงาน (projects) หรือหัวเรื่อง (themes) ด้วยกระบวนการเรียนการสอนแบบ project-based teaching and learning ซึ่งมีครูพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำและดูแลอย่างใกล้ชิด โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเป็น ม.พี่เลี้ยงวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน จ.ลำพูน ในการจัดทำหลักสูตร "สาขาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร" โดยมี ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน , ผศ.วันชาติ สุวัตถี และนายวิสูตร อาสนวิจิตร เป็นคณะอนุกรรมการและผู้แทนมหาวิทยาลัยในการร่วมจัดตั้ง รร.ฐานวิทย์ฯ นำร่องในภูมิภาคพื้นที่ภาคเหนือ

โครงการนี้เดิมอยู่ในความดูแลของ สวทช.และได้โอนไปอยู่ในความดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 เป็นต้นไป

เขียนโดย :: อ.วิสูตร อาสนวิจิตร วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 128 ถ.ห้วยแก้ว ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 โทรศัพท์ : 0-5392-1444 ต่อ 1012 E-mail: visut@rmutl.ac.th