วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564


RUEE | ตอน : งานวิจัยไม่ขึ้นหิ้ง : ห้องปฏิบัติการสอบเทียบเครื่องวัดฝุ่น PM2.5 บทความวิชาการได้รับตีพิมพ์ลงในวารสารแก้วปัญญา คอลัมน์ งานวิจัยไม่ขึ้นหิ้ง ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (ประจำเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2564)

• โดยบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการนำเสนอถึงการทำงาน 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ของหน่วยวิจัยสนามไฟฟ้าประยุกต์ในงานวิศวกรรม (Research Unit of Applied Electric Field in Engineering; RUEE) และนำพาเข้ามาเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ เพื่อดูเทคโนโลยีและเครื่องมือชนิดต่างๆ ที่อยู่ภายในห้องหน่วยวิจัย
• เพื่อเป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคม หน่วยงาน และผู้สนใจต่างๆ ในวงกว้างมากขึ้นต่อไป สามารถติดตามดูรายละเอียดได้ทาง https://kaewpanya.blogspot.com/2021/10/pm25.html
• ติดตามผลงานและองค์ความรู้ดีๆ ของทีมงานได้ในคอลัมน์ต่อไป เพื่อเป็นประโยชน์แก่สังคม ชุมชน ในวงกว้างต่อไปนะครับ

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

งานวิจัยไม่ขึ้นหิ้ง : หน้ากากในช่วงโควิด-19 ระบาด


 RUEE | ตอน : งานวิจัยไม่ขึ้นหิ้ง : หน้ากากในช่วงโควิด-19 ระบาด : ชนิด การทดสอบ การใช้งาน และมาตรฐาน บทความวิชาการได้รับตีพิมพ์ลงในวารสารแก้วปัญญา ในคอลัมน์ งานวิจัยไม่ขึ้นหิ้ง ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (ประจำเดือน พ.ค.-ส.ค. 2564)


• โดยบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการนำเสนอถึงหน้ากากในช่วงโควิด-19 ระบาด โดยประกอบไปด้วยเนื้อหาคือ ชนิดของหน้ากากแต่ละรูปแบบ การทดสอบประสิทธิภาพการกรองอนุภาคในช่วงโควิด 19 ระบาดในรอบแรกและรอบที่สอง ของหน่วยงานวิจัยสนามไฟฟ้าประยุกต์ในงานวิศวกรรม (RUEE) การใช้งานของหน้ากากแต่ละรูปแบบ มาตรฐานของหน้ากากในแต่ละชนิด และวิธีการทิ้งหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง

• เพื่อเป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคม หน่วยงาน และผู้สนใจต่างๆ ในวงกว้างมากขึ้นสำหรับเป็นข้อมูลความรู้ที่จะได้นำไปปรับใช้กับการดำเนินชีวิตในยุคของวิถีใหม่ (New Normal)ต่อไป

• สามารถติดตามดูรายละเอียดได้ทาง https://kaewpanya.blogspot.com/2021/07/19.html

• ติดตามผลงานและองค์ความรู้ดีๆ ของทีมงานได้ในคอลัมน์ต่อไป เพื่อเป็นประโยชน์แก่สังคม ชุมชน ในวงกว้างต่อไปนะครับ

#RMUTL #RUEE #CISAT #วารสารแก้วปัญญา #งานวิจัยไม่ขึ้นหิ้ง
#หยิบดี #สุขโปรเจค

วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ตอน : ฝุ่นมัจจุราชเงียบฆ่าคน

 


RUEE | ตอน : ฝุ่นมัจจุราชเงียบฆ่าคน

บทความวิชาการได้รับตีพิมพ์ลงในคอลัมน์ งานวิจัยไม่ขึ้นหิ้ง เรื่อง ฝุ่นมัจจุราชเงียบฆ่าคน ของ วารสารแก้วปัญญา ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (ม.ค. – เม.ย. 2564)
• สามารถติดตามดูรายละเอียดได้ทาง https://kaewpanya.blogspot.com/2021/05/blog-post.html
• ติดตามผลงานและองค์ความรู้ดีๆ ของทีมงานได้ในคอลัมน์ต่อไป เพื่อเป็นประโยชน์แก่สังคม ชุมชน ในวงกว้างต่อไปนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564

CISAT | "ความเชื่อ"

CISAT | ยินดีกับทุกๆคนและมีความเชื่อเสมอว่าทุกคนจะจดจำสิ่งดีๆ ที่ได้อยู่ร่วมกันในรั้วมหาวิทยาลัยแห่งนี้มาตลอด 3 ปี นะครับ "ชีวิตมันต้องเดินตามหาความฝัน หกล้มคลุกคลานเท่าไหร่ มันจะไปจบที่ตรงไหน แต่จะยังไงก็ต้องไปให้ถึง"
อีกหนึ่งบทเพลงที่ตัวแทนอาจารย์ได้มอบให้ลูกศิษย์ทุกคนแทนสิ่งคำกล่าวดีๆ ให้กับทุกๆคน นะครับ


 

หยิบดี | “บัณฑิตนักปฏิบัติ”


หยิบดี | จากแรกเริ่มสู่สัปดาห์สุดท้ายของน้องๆนักศึกษา CISAT-11ในโอกาสนี้จึงขอน้อมนำพระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9
• ซึ่งมีใจความตอนหนึ่งว่า “บัณฑิตทุกๆสาขา ทุกๆคน มีหน้าที่ที่สำคัญที่จะต้องเป็นกำลังทำประโยชน์สร้างสรรค์ความเจริญมั่นคงให้แก่ประเทศชาติ การที่จะให้ประโยชน์หรือการสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นได้นั้น จะต้องลงมือทำมันอย่างจริงจัง” ให้สมกับคำว่า “บัณฑิตนักปฏิบัติ” ไว้ให้กับทุกคนนะครับ


 

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

หยิบดี | ตอน :ค่ายวิชาการ STEM for TVET Camp

หยิบดี | ตอน :ค่ายวิชาการ STEM for TVET Camp 2016 ผ่านมาแล้ว 5 ปี ยังมีอะไรต่อมิอะไรที่ทีมงานสะเต็มราชมงคลล้านนาอยากนำมาเล่า ในส่วนคอลัมนี้ผมขอ "หยิบดี" นำเรื่องราวที่น่าจดจำเกี่ยวกับค่ายวิชาการที่เราได้ขยายผลการทำงานมาเล่าสู่กันฟังนะครับ
• สืบเนื่องจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาในฐานะผู้ประสานงานหลักให้กับศูนย์การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพในภาคเหนือ (TVET-Hub : Multisector) ภายใต้โครงการ Chevron Enjoy Science (สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต) ในส่วนงานการพัฒนาการศึกษาในภาคอาชีวศึกษาและช่างเทคนิค (TVET) ในเวลานั้น
• เพื่อจัดกิจกรรมค่ายวิชาการ (STEM for TVET CAMP)ให้กับโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจุดประกายการเรียนรู้ด้านสะเต็มศึกษา ที่ประยุกต์เข้ากับทักษะอาชีพและกระตุ้นให้นักเรียนนักศึกษาทั้งสายสามัญและสายอาชีพได้เข้าใจถึงการบูรณาการความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM) เพื่อให้เกิดทักษะที่จำเป็นในโลกแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
• โดยครั้งนั้นได้มี 4 สถาบันการศึกษากลุ่มภาคเหนือเข้าร่วม ประกอบด้วย
โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม
โรงเรียนแม่อายวิทยาคม
วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย
วิทยาลัยเทคนิคแพร่
• ซึ่งกิจกรรมแบ่งออกเป็น 4 ฐานการเรียนรู้ภายในเวลา 2 วัน ประกอบด้วย
1.ฐาน Smart Farm/Home
2.ฐาน Car Racing
3.ฐาน Future Agroindustry
4.ฐาน Smart Dam
• กิจกรรมค่ายนี้ ได้รับเกียรติจากผู้แทนสถาบันคีนันแห่งเอเซียเข้าร่วมกิจกรรมตลอดการจัดงาน โดยทาวบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิตจำกัด เป็นหน่วยงานให้การสนับสนุนการจัดโครงการค่ายในครั้งนั้น
• โดยมี ผศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน เป็นผู้รับผิดชอบหลักของโครงการดังกล่าวในการร่วมนำคณาจารย์จากสาขาต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยมาร่วมกัน ออกแบบกิจกรรม ออกแบบการวัดและประเมินผล ตลอดจนร่วมวางแผนการทำงานจนบรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดเอาไว้อย่างดี
• ปัจจุบันทีมงานสะเต็มราชมงคลล้านนาได้ขยายผลการทำงานไปสู่หน่วยงานผู้สนใจ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรต่างๆ นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ และผู้สนใจต่างๆ แล้วเป็นจำนวนรวมถึง 10,000 คน และเราก็จะยังคงมุ่งมั่นทำสิ่งนี้ต่อไปเพื่อขยายผมการทำงานด้านพัฒนาการศึกษานี้ต่อไปครับ
• "หยิบดี" คอลัมที่ผมตั้งใจนำเรื่องราวดีๆ ที่ควรถูกนำมาเล่า มาสื่อสารให้เป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคม ในวงกว้างยิ่งขึ้น ติดตามดูนะครับว่าผมจะ หยิบดีเรื่องราวไหนมาเล่าต่อไปนะครับ


 

หยิบดี | ตอน : ทุกการเดินทางคือสิ่งดีงาม

หยิบดี | ตอน : ทุกการเดินทางคือสิ่งดีงาม
ระหว่างทางมันมีอะไร ต่อมิอะไรที่น่าจดจำหลายเรื่องราวตลอดการทำงานที่ผ่านมาของเราชาว Coffee Sci และสิ่งหนึ่งที่เป็นกำลังใจเสมอคือ รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และมิตรไมตรีอันอบอุ่น จากพี่ๆทุกแหล่งปลูกที่เราเดินทางขึ้นไปร่วมทำสิ่งดีๆ ในพื้นที่แหล่งปลูกกาแฟร่วมกัน
• ผลแดงๆ สุกๆ สวยๆ เต็มทั่วสวนกาแฟ มันเป็นสิ่งที่ทำให้ใครหลายคนหลงเสน่ห์ในตัวของกาแฟกันมากมาย แสงแดดอ่อนๆ ยามเช้า พร้อมกับกลิ่นน้ำค้างที่เกาะบริเวณใบของต้นกาแฟที่ส่องแสงระยิบระยับหยอกล้อเล่นกับแสงอาทิตย์ไป-มา มันช่างสวยงามมากครับ
• ระหว่างทำงานผมทอดตัวลงนั่งกับพื้นพร้อมกับเอาตระกล้าใส่ผลเชอรี่ลงวางที่ตัก เพื่อเปลี่ยนอิริยาบทผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ผลันได้ยินเสียงคุยกับผมว่า
:: อาจารย์รู้ไหมว่าสิ่งที่ทีมงานของอาจารย์ได้ทุ่มเททำงาน และนำผลสรุปจากการวิเคราะห์ต่างๆ มามอบให้ถึงมือเกษตรกรทุกคนพร้อมคำแนะนำดีๆ
:: มันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านกาแฟในชุมชนของเรามากนะครับ
:: เป็นสิ่งที่ชาวบ้านทุกคนชื่นชมและขอบคุณทีมงานอาจารย์เป็นอย่างมากที่ได้ทุ่มเททำสิ่งดีๆนี้ให้กับชุมชน"
• "หยิบดี" คอลัมที่ผมตั้งใจนำเรื่องราวดีๆ ที่ควรถูกนำมาเล่า มาสื่อสารให้เป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคม ในวงกว้างยิ่งขึ้น ติดตามดูนะครับว่าผมจะ หยิบดีเรื่องราวไหนมาเล่าต่อไปนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564

หยิบดี | ตอน : "ปลูกผักต้าน Covid-19"


 หยิบดี | ตอน : "ปลูกผักต้าน Covid-19"

สืบเนื่องจากต้นปีที่แล้วทางเราได้ทำโปรเจค "แบ่งพันธุ์ปันผัก" ร่วมกับสหาย เครือข่ายพันธมิตรต่างๆ หลากหลายพื้นที่ โดยมอนิ่งฟาร์มเราได้นำเมล็ดพันธุ์ที่เราเก็บไว้นำมาจัดส่งมอบให้พี่ๆ เครือข่ายเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ได้นำไปปลูกกันในช่วงที่มีการเก็บตัวอยู่บ้านในช่วงโควิครอบแรกที่ผ่านมา

• ดังนั้นในปีนี้ผมจึงตั้งใจเอาไว้ว่าอยากจะชวน พี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ และคนที่รู้จักในเพจนี้ ได้มาปลูกผักกินกันในครัวเรือน เริ่มจากผักที่ง่ายๆ ไว้กินกันในช่วงของการเก็บตัวในสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในรอบที่ 2 นี้ อย่างน้อยจะช่วยลดค่าใช้จ่าย ได้ออกกำลังกาย หรือแม้กระทั้งมีผักที่ใส่ลงในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็ยังดี นะครับ

• ผักไผ่ หอมด่วน ใบกะเพรา ขิง ข่า พริก ผักชี ผักคาวตอง หอมแดง มะเขือ มะนาว และอื่นๆ เป็นพืชผักที่มอนิ่งฟาร์มเราปลูกเอาไว้กินในทุกฤดูกาล มีสรรพคุณทางยาด้วยครับ นั้นจึงเป็นที่มาของคำว่า "กินอาหารเป็นยา" ขอสนับสนุนและเป็นกำลังใจให้ทุกคนหันมาเริ่มลงมือปลูกผักกินกันเอง จากในกระป๋องเล็กๆ และค่อยขยับขยายต่อไปก็ได้นะครับ

• "หยิบดี" คอลัมที่ผมตั้งใจนำเรื่องราวดีๆ ที่ควรถูกนำมาเล่า มาสื่อสารให้เป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคม ในวงกว้างยิ่งขึ้น ติดตามดูนะครับว่าผมจะ หยิบดีเรื่องราวไหนมาเล่าต่อไปนะครับ

ภาพโดย : อ.วิสูตร อาสนวิจิตร
สถานที่ : มอนิ่งฟาร์ม

#morningfarm #ปรุงดินให้ผักกิน
#กินอาหารเป็นยา #เก็บเมล็ดพันธุ์แท้ #แหล่งเล่นรู้ #สนับสนุนให้ทุกคนปลูกผักกินเอง 

รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์


 RMUTL | ขอบคุณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ และทีมงานหน่วยวิจัยสนามไฟฟ้าประยุกต์ในงานวิศวกรรม(RUEE) ทุกท่าน


• ขอบคุณ รศ.ดร.พานิช อินต๊ะ ในการให้คำแนะนำแนวทางการทำงานวิจัยที่ดี และทีมงาน RUEE ทุกท่านที่ได้ให้กำลังใจและความช่วยเหลือต่างๆในทุกด้าน

• ขอบคุณคณะครูอาจารย์ในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาทุกท่านครับ

• วันที่ 8 มกราคม 2564 รศ.ศีลศิริ สง่าจิตร ผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์

#RMUTL #CISAT #RUEE