วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

สติปัญญา3 ฐาน (โดย ดร.วรภัทร ภู่เจริญ)


เนื้อหาบางส่วนที่สำคัญ
คนโบราณให้ความสำคัญกับปัญญาฐานกายเยอะมาก แม้แต่การเรียนรู้ก็ใช้เพื่อการ “บ่มเพาะ” ปัญญาฐานกาย เพราะจะสืบเนื่องต่อไปที่ฐานใจ และฐานคิดในที่สุดแต่ระบบการศึกษายุคอุตสาหกรรม เน้นฐานกายบนความไม่รู้ฐานใจ และฐานกาย ผลออกมาคือ เป็นปัญญาเฉโกเสียส่วนมาก เป็นฐานคิดที่วิปริต เป็นฐานคิดที่จิตไม่ปกติ

คำว่า เฉโก นี้ ท่านพระอาจารย์พุทธทาส แปลไม่ตรงกับพจนานุกรมนะครับ ในพจนานุกรมแปลว่า เป็นความคิดแบบโกงๆ เจ้าเล่ห์ ฉลาดแกมโกง เฉไปเฉมา ฯลฯ

ซึ่งที่จริงแล้ว “เฉโก” เป็นความคิดตอนจิตไม่ว่าง คิดตอนจิตเกิดอาการ เป็นได้ทั้งโลภโกรธ หลง เป็นแบบติดดี หรือ “เมาบุญ” ก็ได้เป็นแบบไม่โกงก็ได้ เป็นความคิดที่เจืออคติเจือลำเอียง ไม่มีความเป็นกลางของจิตในความคิดนั้นๆ เป็นความคิดแบบฟุ้งซ่าน กังวล แค้นเบื่อหน่าย เซ็ง ฯลฯ ก็ได้ ไม่ใช่แค่เจ้าเล่ห์โกง แต่อย่างเดียว

พ ว ก เ ร า โ ด น ร ะ บ บ ก า ร ศึก ษ า ยุคอุตสาหกรรมหลอกเสียโง่มานาน เป็นกบในกะลาเชื่อตนเองจนโง่ ขาดคุรุหรือบัณฑิตชี้ทางยิ่งเรียนยิ่งมีพันธนาการ ยิ่งตกเป็นทาสทางวัตถุ ยิ่งเรียนยิ่งเต็มไปด้วยกิเลส หลงโง่ โดนโฆษณา โดนสื่อเฉโกหลอกได้เรื่อยๆ ยิ่งเรียนยิ่งไม่หลุดพ้น ยิ่งเรียนยิ่งทำลายล้างรู้ลึก โง่กว้าง ฉลาดทางโลก โง่ทางธรรมยิ่งแก่ ยิ่งไม่น่ารัก ยิ่งตำแหน่งสูง ยิ่งขาดเมตตาอารมณ์ดี แต่เข้าข้างกิเลส (พวกขี้เมา พวกบ้ากาม) ฯลฯถ้ามีโอกาส ก็อย่าลืมหาครูบาอาจารย์ถอยไปฝึกฐานกาย เดินจงกรม ทำสมาธิ วิปัสสนาบ้างนะ


>> ทัศนะผู้เขียน ; ข้าพเจ้าได้คัดลอกเนื้อหาบางตอนมาจาก Soft Side Management (ตอนที่ 5) :สติปัญญา3
ฐาน โดย ดร วรภัทร์ ภู่เจริญ* http://managerroom.com ต้องการให้เห็นมุมมอง และแนวคิดอีกด้านหนึ่งที่เป็ีนจริงตามแนวคิดของ ดร วรภัทร์ ภู่เจริญ ซึ่งผู้เขียนขอขอบคุุณสำหรับสิ่งดีๆๆ สำหรับเนื้อหาทั้งหมดที่ได้แสดงในส่วนนี้ ขอบคุณครับ.....


วิสูตร อาสนวิจิตร
iamvisut@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น