วันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การวิเคราะห์พลังงานไฟฟ้าของหม้อแปลงแรงสูงในการสร้างโคโรนา

วิสูตร อาสนวิจิตร มงคล ไชยวงศ์ อาทิตย์ ยาวุฑฒิ พานิช อินต๊ะ*

กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการวัดและควบคุมอนุภาคแขวนลอย วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

จังหวัดเชียงใหม่ 50300 โทร 085-040-1595 E-mail: iamvisut@gmail.com

บทคัดย่อ

โคโรนาและพลาสมาไอออนไนเซชันเป็นหนึ่งในจำนวนเทคนิคทั่วไปที่ใช้ในการสร้างไอออนที่มีความเข้มข้นสูง ซึ่งปรากฏการณ์นี้ถูกใช้กันอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรม เช่น การเคลือบและการตกตะกอนเชิงไฟฟ้าสถิต การอัดประจุไฟฟ้าสถิตโดยโคโรนาและพลาสมาไอออนไนเซชันยังถูกนำไปใช้ในการวัดการแจกแจงขนาดของละอองลอยด้วยการวิเคราะห์การเคลื่อนตัวเชิงไฟฟ้า โดยปกติแล้วโคโรนาและพลาสมาไอออนไนเซชันจะถูกสร้างโดยแหล่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูง ในการศึกษานี้ได้ทำการทดลองการเกิดปรากฏการณ์โคโรนาและพลาสมาไอออนไนเซชันกับขั้วอิเล็กโทรดแบบเข็มโดยใช้หม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูงแบบขดลวดขนาด 15 กิโลโวลต์ มีการวิเคราะห์พลังงานไฟฟ้า ฮาร์มอนิก เพาเวอร์แฟกเตอร์ขาเข้าด้วยเครื่องมือวัดทางไฟฟ้ามาตรฐานและเครื่องบันทึกคุณภาพไฟฟ้าของ Fluke โมเดล 435 ผลการวิจัยพบว่าโคโรนาไอออนไนเซชันมีการใช้พลังงานไฟฟ้าในระดับที่ต่ำกว่าพลาสมาไอออนไนเซชันและการเกิดโคโรนาและพลาสมาไอออนไนเซชันแต่ละแบบยังขึ้นอยู่กับระดับแรงดันทางไฟฟ้าที่จ่ายใช้ขั้วอิเล็กโทรดและระยะห่างของขั้วอิเล็กโทรด

การประชุมเชิงวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 6

5 - 7 พฤษภาคม 2553 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น